สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

งัดข้อมูล เสือ โต้นักวิชาการ

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...ธเนศน์ นุ่นมัน

เกิดกรณีที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ โดยได้มีการหยิบประเด็นที่นักวิชาการรายหนึ่งออก มาระบุว่า หากในพื้นที่ ป่าแม่วงก์มีเสือจริง เจ้าหน้าที่ป่าไม้หรือชาวบ้านบริเวณนั้น ต้องถูกเสือกัดตายและมีการล่าเสือเกิดขึ้น แล้ว

เพื่อฉายภาพต่อเนื่องจากกรณีดังกล่าว จึงขอหยิบยกรายงานซึ่งเคยได้พูดคุยกับ ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ นักวิชาการจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ซึ่งศึกษาเรื่องเสือโคร่งในประเทศไทยมากว่า 20 ปี ขึ้นมานำเสนออีกครั้ง

รายงานดังกล่าว ระบุว่า  เสือโคร่งเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่า สืบเนื่องมาจากพฤติกรรม อุปนิสัย รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ โดยจากการศึกษายังพบอีกว่า มันเป็นสัตว์ที่อ่อนไหวต่อความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก

ปัญหาการลดลงของเสือโคร่งที่สำคัญที่สุด มาจากการทำลายหรือเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่อาศัยของมัน การล่าเพื่อการค้า รวมถึงการล่าสัตว์ที่เป็นเหยื่อ เนื่องจากตัวที่โตเต็มที่ต้องล่าเหยื่อขนาดใหญ่ประมาณ 500 ตัวต่อปี ขณะ ที่เพศผู้แต่ละตัวมีอาณาเขตในการลาดตระเวนเพื่อหากิน ประมาณ 300 ตารางกิโลเมตรหากพื้นที่ใดมีความสมบูรณ์มีสัตว์ใหญ่ให้ล่าความต้องการ พื้นที่ก็อาจจะแคบลง แต่ละพื้นที่ที่เพศผู้ประกาศอาณาเขตอาจมีเพศเมียอยู่ในอาณาเขตของมัน 2-3 ตัว

ความต้องการพื้นที่ในการล่าและปริมาณของเหยื่อดังกล่าว เมื่อกลับมามองสภาพความเป็นจริงของป่าในปัจจุบัน เสือโคร่งไม่สามารถจะหลีกพ้นจากวิกฤตที่คุกคามได้เลย และหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป เพียง 25-50 ปีข้างหน้า ก็จะกลายเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปในที่สุด

"ไม่มีป่าก็ไม่มีเสือ ต้องคืนพื้นที่อาศัยให้พวกเขา นั่นเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะนำเสือกลับมาสู่ป่า ขณะนี้พื้นที่ป่าบางแห่ง ไม่พบว่ามีเสือโคร่งอยู่เลยทั่วประเทศ เฉพาะในพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีอยู่ประมาณ 70 ตัว คาดการณ์กันว่า มีเสือโคร่งในพื้นที่ป่าเหลืออยู่ประมาณ 250-300 ตัวเท่านั้น ที่สำคัญคือ การเพาะพันธุ์เพื่อปล่อยกลับสู่ป่าเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย" ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ระบุ

ข้อจำกัดในการเพิ่มประชากรเสือโคร่งตามธรรมชาตินั้น นอกจากยึดโยงอยู่เรื่องของอาณาเขตในการหากินแล้ว ยังมีความละเอียดอ่อนในการดำรงชีวิตอีกด้วย ดร.ศักดิ์สิทธิ์ บอกว่า การเพาะพันธุ์อาจจะเป็นเรื่องทำได้ไม่ยาก ปัจจุบันในประเทศไทยมีเสือโคร่งที่เพาะพันธุ์ได้หรือที่อยู่ตามกรงเลี้ยง ทั่ว ประเทศมากกว่าตามธรรมชาติกว่า 3 เท่า

"เสือโคร่งเป็นสัตว์ฉลาด และมีประสาทสัมผัสที่ไวต่อสิ่งแปลกปลอมที่อยู่รอบตัว เสือในป่าและเสือในกรง มีวิถีชีวิตอุปนิสัยที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หลายเรื่องเป็นเรื่อง ยังไม่สามารถศึกษาได้ เช่น เรื่องพฤติกรรมเสือในป่า จะมีวิธีการสอนลูกให้ล่าตั้งแต่ยังเล็กเป็นสัญชาตญาณป่าที่ป่าด้วยกันเท่า นั้นที่จะสอนได้หลายเรื่อง แน่นอนหลายเรื่องคนไม่อาจรู้ได้ บางเรื่องเป็นความรู้ใหม่

เช่น สิ่งที่เคยเชื่อกันว่า เพศผู้จะทิ้งเพศเมีย หลังจากสืบพันธุ์ เลิกไปมาหาสู่กัน แต่ล่าสุดพบว่า บางครั้งพวกมันจะกลับมาล่าเหยื่อด้วยกัน ข้อจำกัดที่สำคัญที่เห็นชัดสุดที่เสือในกรงต่างจากเสือในป่าก็คือสัญชาตญาณ แห่งความเป็นสัตว์ป่า เสือในป่านั้นกลัวคน หากได้กลิ่นคนก็จะเดินหนี โอกาสที่จะพบเสือในป่าจริงๆ นั้นเป็นเรื่องสุดวิสัยหรือจวนตัวของเสือตัวนั้น" ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ นักวิชาการด้านเสือ ระบุ

นอกจากนี้ที่วิตกว่าเสือโคร่งจะทำร้ายคน นั้น น่าจะเป็นเสือโคร่งที่เคยถูกคนเลี้ยงมากกว่าเสือในป่า เพราะมันจะกลายเป็นสัตว์ที่คุ้นเคยกับคน ขณะที่หากเข้าตาจน ไม่มีสัตว์อื่นเป็นอาหาร คนที่ไม่มีอาวุธ มีพละกำลังด้อยกว่า ย่อมกลายเป็นเหยื่อที่ล่าได้โดยง่าย

เหตุการณ์ที่เสือโคร่ง (ในป่า) ทำร้ายคนที่มีการบันทึกไว้ มีเพียง 2 ครั้ง ในปี 2541 เสือโคร่งเพศผู้ตรงเข้ามาทำร้ายเจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และในปี 2519 เป็นเสือโคร่งอายุมาก ไม่สามารถล่าเหยื่อตามธรรมชาติได้

ตีพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับประจำวันที่ 30 ม.ค.2553


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : งัดข้อมูล เสือ โต้นักวิชาการ

view