สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปั่นจักรยาน สร้างวิถีชีวิตสีเขียว

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       
             
    • กิจวัตร การเดินทางของคนยุคนี้หันมาใส่ใจโลกใบนี้มากขึ้น เนื่องจากได้สัมผัสของจริงที่เป็นผลกระทบจาก “ภาวะโลกร้อน” ซึ่งก่อความเดือดร้อนต่อการดำเนินชีวิต จนแม้กระทั่งฤดูกาลตามปกติก็เปลี่ยนแปลง 

             
    • เหตุผล ของ “คนปั่นจักรยานในเมือง” ต้องการรณรงค์ลดการใช้พลังงาน ลดปัญหามลพิษทางอากาศ บรรเทาปัญหาการจราจร และลดการเกิดอุบัติเหตุที่เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมเมืองทั่วโลก 

             
    • ที่สำคัญยังทำให้สุขภาพของเขาแข็งแรง และยังมีผลพลอยได้ ช่วยลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว และช่วยโลกลดปัญหาภาวะโลกร้อน

           

       ดังนั้น กิจกรรม “ปั่นจักรยาน” จากที่เคยเป็นการออกกำลังเพื่อสุขภาพประเภทหนึ่ง ในยุคนี้จึงเป็นพาหนะทางเลือกที่นำมา รณรงค์ให้คนหันมาใช้แทนรถยนต์ จักรยานยนต์ ซึ่งเป็นวิธีร่วมด้วยช่วยกันลดวิกฤตโลกร้อน

       ...ใครที่เคยขับรถไปจ่ายตลาด...ซื้อของหน้าปากซอย หรือจะไปที่ไหนๆ ถ้าระยะทางสั้นๆ ก็ควรตระหนักคิดดีต่อโลกสักนิดว่า

“ไม่รีบร้อน ไม่ได้มีธุระด่วน ขอเสียเวลากันหน่อยด้วยการใช้จักรยานแทน” นอกจากร่างกายจะได้ออกกำลังซึ่งดีต่อสุขภาพตนเอง ยังเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการลดค่าน้ำมัน
       ปัจจุบัน สังคมเมืองประสบปัญหาการจราจรติดขัดมากขึ้นทุกวัน ทั้งๆ ที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก็ไม่ได้ลดลง แต่กลับมีรถยนต์บนถนนเพิ่มมากขึ้น
       ในปีนี้สังคมเมืองใหญ่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย จึงยกระดับการคาดหวังจาก “ปั่นจักรยาน” เพราะเชื่อว่า ถ้าสามารถจูงใจให้คนทำงานลดใช้รถยนต์ส่วนตัวเพิ่มขึ้น ย่อมจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ สู่ชั้นบรรยากาศด้วย
       เนื่องจากน้ำมันทุกๆ แกลลอนที่ประหยัดจากการขับรถน้อยลง จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 20 ปอนด์
       รายงานฉบับล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ
       ไอพีซีซี (Intergovernment Panel on Climate Change : IPCC) เป็นรายงานที่รวบรวมงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ 2,500 คน จากกว่า 30 ประเทศ ใช้เวลาในการวิจัยถึง 6 ปี ระบุว่า มีความเป็นไปได้อย่างน้อย 90% ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และมนุษย์ถือเป็นตัวการสำคัญของปัญหาโลกร้อน

       ดังนั้น กิจกรรม คาร์ฟรีเดย์ (Car Free Day) ที่จัดวันที่ 22 กันยายนทุกปี ในปีนี้ที่เมืองไทยจึงคึกคักกว่าทุกปี โดยเฉพาะใน กทม. โดยทางกรุงเทพมหานครร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาคมจักรยานแห่งประเทศไทย ชมรม / กลุ่มผู้ใช้จักรยานในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และชมรมจักรยานต่างๆ อีก 76 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมเข้าร่วมรณรงค์ อีกทั้ง การตอบรับเข้าร่วมจากหลายหน่วยงานมากขึ้น เป็นสิ่งที่คนในเมืองใส่ใจมากขึ้น โดยเฉพาะ “การปั่นจักรยานในเมือง” มีกลุ่ม ก๊วน และชมรมเกิดขึ้นมากมาย มีการจัดกิจกรรมโดยอาศัยจักรยานเป็นแรงดึงดูด


       Car Free Day เป็นกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันทิ้งรถบ้าน 1 วัน เพื่อมาใช้การปั่นจักรยานแทน ซึ่งเป็นวิธีการเดินทางที่เราช่วยกันทำได้ง่ายๆ เพื่อโลกใบนี้
       ความสะดวกสบายในการเดินทางโดยอาศัยพาหนะส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ จักรยานยนต์ นับวันก็ยิ่งสร้างปัญหามลพิษทางอากาศ และส่วนมากก็รับรู้ว่าคือสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่ชั้นบรรยากาศ โดยเพาะในสังคมเมืองใหญ่ยังพบว่า ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งแก่ผู้เดินทางและชุมชนที่มีเส้นทางผ่าน รวมถึงทำให้การจราจรติดขัด และสร้างอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น
       อย่างไรก็ตาม การปั่นจักรยานไปทำงานในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครนั้นไม่ง่ายดายเหมือน กัน เพราะต้องอาศัยความกล้า หูตาก็ต้องไว มีร่างกายแข็งแรงที่พร้อมขับขี่ ข้อสำคัญ การตัดสินใจพาตนเองไปเสี่ยงต่ออันตรายบนท้องถนนที่มากด้วยรถยนต์ และจักรยานยนต์ หากผู้ใดยังปั่นได้ไม่แข็งแรง ก็ควรฝึกฝนในระยะทางที่ใกล้ๆ ในซอยแถวบ้านก่อน และโปรดจำไว้ว่า ปั่นบนถนนใหญ่นั้น ควรไปเป็นกลุ่มจะปลอดภัยกว่าไปคันเดียว

       คำเตือน  ปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ
       1. ระยะอาน เมื่อนั่งแล้วต้องสามารถเหยียดเท้ายันพื้นได้ แบบเขย่งหรือปลายเท้าก็ได้ ห้ามเท้าลอยเพราะเวลาเบรก หรือ หยุดกะทันหันจะไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ จะล้มเอา ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ใช่ระยะเดียวกับการ fitting
       
       2. หน้ากากกันฝุ่น เพื่อป้องกันฝุ่นละออง ควัน กลิ่น จะป้องกันได้ดีกว่าผ้าบัฟ ทนร้อนหน่อยแต่เดี๋ยวก็ชิน แล้วจะรู้สึกว่าอากาศที่สูดเข้าไปสะอาดขึ้นเยอะเลย
       3. ติดแตรนก แตรไฟฟ้า เสียงจะดังกว่ากระดิ่งมาก เสียงกระดิ่งจะไม่มีใครสนใจ และไม่ได้ยินเพราะเสียงบนท้องถนนมันดังมากอยู่แล้ว (กระดิ่งผมคิดว่าเหมาะกับปั่นในสวนมากกว่า)
       4. ควรใส่หมวก
       5. กระจกมองหลัง แล้วแต่ถนัด ยิ่งใหญ่ยิ่งดี แต่ควรมองหลังทุกครั้งที่เลี้ยว
       6. ติดไฟหน้า-หลัง (ขี่กลางคืน หรือเช้าตรู่)
       หมายเหตุ เป็นข้อแนะนำของผู้มีประสบการณ์ในการขับขี่จักรยานในกรุงเทพฯ


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต



Tags : ปั่นจักรยาน สร้างวิถีชีวิต สีเขียว

view