จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
|
||||
รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เจ้าของผลงานวิจัย สารสกัดหอมระเหยจากพืชทำมัง เล่าว่า การนำพืชทำมังมาใช้แทนแมลงดานานั้น เป็นแนวคิดของชาวบ้านในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีการนำพืชทำมังมาผสมลงในน้ำพริกแทนแมลงดา เพราะให้กลิ่นเหมือนกับแมลงดานา ที่ปัจจุบันเริ่มหาได้ยากตามธรรมชาติ และทดแทนการใช้สารสังเคราะห์กลิ่นแมลงดา ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมี และแอลกอฮอล์เป็นอันตรายต่อสุขภาพ |
||||
“ทางมหาวิทยาลัยทดลองวิจัยทำสารสกัดพืชทำมังขึ้นมาได้ระยะหนึ่ง ซึ่งใช้เวลานานพอสมควร เพราะเรายังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องของสารที่อยู่พืชทำมัง ที่คล้ายกับใบกระท่อม ทำให้ไม่สามารถนำออกมาจำหน่ายได้ เพราะไม่แน่ใจว่า ทางการจะขึ้นทะเบียนทำมังเป็นพืชสารเสพติดเหมือนกับกระท่อมหรือเปล่า” |
||||
อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำสารสกัดหอมระเหยทำมังในครั้งนี้ ค่อนข้างจะได้ประโยชน์ในหลายส่วน ประการแรก ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้พืชพื้นบ้าน และชาวบ้านจะมีรายได้จากการจำหน่ายพืชดังกล่าว และประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอาหารที่ใช้สารสังเคราะห์กลิ่นแมลงดา สามารถนำสารสกัดตัวนี้ไปใช้แทนได้ |
||||
|
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต