สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปัญหาราคากับยางพาราลุ่มน้ำโขง โดย ธีรภัทร เจริญสุข

จากประชาชาติธุรกิจ

ที่มา คอลัมน์ เดือนหงายที่ชายโขง นสพ.มติชนรายวัน

ในอดีต เชื่อกันว่ายางพาราปลูกได้เฉพาะในภาคใต้เท่านั้น แต่จากการศึกษาของกรมส่งเสริมการเกษตร เริ่มมีการสนับสนุนการปลูกยางพาราเชิงพาณิชย์ในภาคอื่น โดยเฉพาะภาคอีสานอย่างต่อเนื่องเมื่อ พ.ศ. 2547 โดยเฉพาะในแถบจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงที่มีสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ แหล่งน้ำและความชื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง ซึ่งในจังหวัดเกิดใหม่อย่างบึงกาฬ ยางพาราได้กลายเป็นสินค้า

สำคัญ ของจังหวัด มีพื้นที่ปลูกกว่า 8 แสนไร่ คิดเป็นกว่าหนึ่งในสี่ของพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งภาคอีสาน 3.2 ล้านไร่ มีการจัดงานประจำปีในชื่องานวันยางพาราบึงกาฬ ชาวสวนยางมีรายได้สูงเป็นกำลังซื้อสำคัญของธุรกิจในท้องถิ่น ชนิดที่ว่าบริษัทรถสั่งรถโฟร์วีล รถ SUV มาขายไม่ทันความต้องการ

จาก นั้นราคายางที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากถึงกิโลกรัมละ 150-160 บาทใน พ.ศ. 2554 เป็นแรงดึงดูดให้เกษตรกรภาคอีสานหันมาปลูกยางพารามากขึ้น โดยเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมอย่างอื่นเป็นสวนยางพารา และได้ความรู้ แรงงานในการทำสวนยาง มาจากกลุ่มแรงงานชาวอีสานที่เคยไปรับจ้างกรีดยางอยู่ภาคใต้ รวมถึงกลุ่มชาวสวนยางบางส่วนที่อพยพหนีความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนขึ้นมา ซื้อที่ดินทำสวนยางพารา ซึ่งสวนยางพาราร้อยละ 80 ของประเทศไทย เป็นสวนยางของเกษตรกรเอกชนรายย่อย โดยสิ่งสำคัญในการปลูกยางคือกล้าพันธุ์ยางนั้นหายากจนราคาดีดตัวขึ้นสูง เป็นที่จับตาของบรรดาโจร

ขนาดสวนยางของนายตำรวจท่านหนึ่งของ สภ.อ.เมืองหนองคาย ลงกล้ายางไว้หนึ่งเดือน กลับมาดูอีกที ถูกมือดีลักขุดเอาไปจนหมดสวนก็มี

ต่าง จากฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศกัมพูชาที่มีการให้สัมปทาน ทำสวนยางพาราขนาดใหญ่ระดับอุตสาหกรรม โดยบริษัทสัญชาติจีน เวียดนาม และไทย เพื่อส่งผลผลิตยางพาราป้อนสู่อุตสาหกรรมที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบตั้ง ต้น เช่น ถุงมือยาง ยางรถยนต์ และของเล่น ส่วนเกษตรกรรายย่อยนั้นไม่สามารถทำสวนยางพาราได้เอง เนื่องจากขาดภูมิความรู้ในการทำสวนยาง อีกทั้งยังขาดกล้าพันธุ์ยางพาราที่จะนำมาปลูก

การ ทำสวนยางแบบอุตสาหกรรมในลาวและกัมพูชา ยังส่งผลต่อการรุกล้ำพื้นที่ป่า เนื่องจากทางรัฐบาลได้ให้สัมปทานทำสวนยางในเขตพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมติดกับ เขตป่าสงวน โดยเฉพาะในแขวงหลวงน้ำทา และแขวงสาละวันของลาว ที่ได้รับสัมปทานสวนยางกว่า 11,000 เฮกตาร์ (ประมาณ 70,000 ไร่) บ่อยครั้งที่บริษัทที่ได้รับสัมปทาน จะรุกเข้าไปตัดไม้จากป่าไม้สมบูรณ์เพื่อนำไม้ซุงออกมาส่งขาย บริษัท "ขุนนางยางพารา" (Rubber Barons) เหล่านี้ มักประดับประดาสำนักงานและบ้านพักผู้บริหารด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้แท้ๆ จำพวกไม้สัก ประดู่ ชิงชัน พะยูง จากป่าไม้ในเขตที่ตนได้รับสัมปทาน เปลี่ยนป่าไม้เนื้อแข็งเขตร้อนให้กลายเป็นป่ายางพารา ทำลายระบบนิเวศพื้นถิ่นโดยสิ้นเชิง

เมื่อ ราคาน้ำมันโลกเริ่มตก ส่งผลต่อราคายางพาราในฐานะสินค้าทดแทน เหลือเพียงกิโลกรัมละ 70-80 บาท กระแสนิยมในการทำสวนยางก็เริ่มซาลง ในขณะที่ชาวสวนยางในภาคอีสานผู้ที่ลงทุนปลูกไปแล้วก็ยังพอเก็บผลผลิตขายใน ระดับพอกินพออยู่ได้ ไม่ร่ำรวยอู้ฟู่อย่างที่เคยเป็นมาก่อน เพราะกรีดได้ตลอดทั้งปี ไม่ต้องรอพักฤดูฝนเหมือนสวนยางภาคใต้ แม้จะมีเสียงบ่นอยู่พอสมควรจากรายได้ที่ลดลงบ้างก็ตาม

ใน ขณะเดียวกัน ลาวและกัมพูชาก็เริ่มระงับโครงการให้สัมปทานสวนยางพาราใหม่ โดยจากแผนการให้สัมปทานยางพารา 181,480 เฮกตาร์ ( ประมาณ 1,134,000 ไร่) ได้ถูกระงับไปกว่า 70% เนื่องจากบริษัทที่มาขอสัมปทานเห็นว่าราคายางไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน รวมถึงทางรัฐบาลได้รับการร้องเรียนเรื่องการทำลายป่าไม้ของบริษัทเหล่านั้น จากชาวบ้านในพื้นที่ และกลุ่มองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติที่เป็นห่วงว่าป่าไม้ของชาติจะกลายเป็นป่า ยางพาราเสียหมด

ปัญหาราคายางตกต่ำ ด้านหนึ่งจึงเป็นเรื่องเดือดร้อนของเกษตรกรไทย แต่สัตว์ป่าในลาวและเขมรคงถอนหายใจด้วยความโล่งอก


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : ปัญหาราคา ยางพารา ลุ่มน้ำโขง ธีรภัทร เจริญสุข

view