สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สรุปเสวนา อนุรักษ์แม่น้ำกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน

จากประชาชาติธุรกิจ

มื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 8 สิงหาคม กระทรวงอุตสาหกรรม จัดการเสวนาเรื่อง"การอนุรักษ์แม่น้ำกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน" ภายใต้โครงการอุตสาหกรรมรวมใจภักดิ์ รักษ์แม่น้ำ ที่ ห้องแม่น้ำแกรนด์บอลรูม โรงแรมแม่น้ำ รามาดาพลาซ่า โดยมีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ประธานในพิธีฯ กล่าวเปิดงานเสวนา

ผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดร.ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม  คุณปราณี นันทเสนามาตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผังเมือง นายเชวง จาว ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายวิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย นายสมิตร โอบายะวาทย์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม และ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม

ดร.ณัฐพล กล่าวว่า การแก้ปัญหาจัดการน้ำ ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรม จากแนวพระราชดำรัส พระราชเสาวนีย์ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สิ่งที่กระทรวงโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ทำไปมีหลายเรื่อง ต่อเนื่องมา 5 ปีแล้ว โดยปีนี้เป็นปีพิเศษเราทำเป็นโครงการใหญ่ในนามกระทรวงมีหลายหน่วยงานเข้าร่วม เรียกว่าเป็นโครงการเทิดพระเกียรติ ซึ่งเราจะทำต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปี มีถึง 25 โครงการ

"ในส่วนของกฎกระทรวงที่จะประกาศใหม่ ได้วางไว้ 2 แนวทาง คือ 1.ห้ามตั้งห้ามขยายโรงงานที่มีน้ำทิ้งทุกตำบลที่มีอาณาเขตติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา 2.โรงงานที่จะตั้งต้องมีระยะร่นจากริมแม่น้ำเข้ามาอาจจะ 50 เมตร หรือ ตั้งได้บางประเภทที่มีการปล่อยน้ำทิ้งบางประเภท เช่น น้ำหล่อเย็น หรือ ต้องมีระบบการใช้น้ำหมุนเวียน 3 อาร์ หรือ อีกระยะ เช่น 200 เมตร อาจตั้งโรงงานที่ปล่อยน้ำทิ้งได้ นี่เป็นแค่ตัวเลขคร่าวๆ เท่านั้น ซึ่งสิ่งที่กรมพยายามจะดำเนินการคือ พยายามจะออกกฎหมายผังเมืองภาคโรงงานอุตสาหกรรม เพราะจากการลงตรวจพื้นที่พบว่าชาวบ้านมีความกังวลมาก โดยเฉพาะโรงงานที่มีบ่อบำบัดติดแม่น้ำ"

ดร.ณัฐพล กล่าวถึงสถานการณ์ของคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลักว่า ปีนี้ปีเดียวได้เข้าไปตรวจสอบถึง 600 โรงงาน ที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามา ซึ่งพบว่ามี 14 โรงงานที่ปล่อยน้ำเสียเกินกว่ามาตรฐาน ตรงนี้กรมเห็นว่านอกจากการไปตรวจโรงงานแล้ว วันนี้การสร้างการมีส่วนร่วมร่วมของชุมชนก็มีความสำคัญ เพราะการที่โรงงานจะอยู่ได้ ชุมชนต้องอยู่ได้ด้วย เราจึงมีโครงการสร้างเครือข่าย ชาวบ้านรอบๆโรงงาน นักเรียน เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ เพื่อนำไปสู่สร้างความรู้ความเข้าใจ แล้วยังนำไปสู่ความรับผิดชอบของโรงงานที่ต้องทำประโยชน์ให้แก่ชุมชนรอบๆ หรือที่เรียกว่า csr ซึ่งโครงการลักษณะนี้ เราให้ความสำคัญ เพื่อนำไปสู่ green growth

ดร.ณัฐพล กล่าวว่า ในส่วนของผู้ที่ทำความผิด กระทรวงจะเริ่มใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดยการปรับครั้งแรกเป็นการเตือนตามกฎหมายจะปรับ 2 แสนบาทต่อครั้ง แต่ถ้าทำผิดต่อเนื่องถึง 3 ครั้ง ก็จะมีการดำเนินคดี ซึ่งเมื่อก่อนชาวบ้านจะต่อว่าว่าเราแค่ปรับไม่จริงจัง แต่ต่อไปหากมีการทำผิดต่อเนื่อง เราจะไม่เปรียบเทียบปรับแล้ว แต่จะสั่งดำเนินคดีทันที

"มาตรการใหม่ที่จะทำ ที่จะมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและให้ประชาชนสบายใจได้ว่าแม่น้ำสายหลักจะใช้ประโยชน์ได้ชั่วลูกชั่วหลาน คือ ออกประกาศกฎกระทรวงในการที่จะห้ามตั้ง ห้ามขยายโรงงานริมแม่น้ำสายหลัก จะเริ่มที่แม่น้ำเจ้าพระยาก่อน"ดร.ณัฐพลกล่าว

ด้าน ดร.วิจารย์ กล่าวว่า ในด้านของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ดูแลและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยเรื่องคุณภาพน้ำเราตรวจสอบทั้งหมด 50 แม่น้ำ รวมชายฝั่งทะเล โดยทั้ง 6 แม่น้ำหลักที่เป็นเป้าหมาย เป็นพื้นที่คุณภาพน้ำวิกฤติ ซึ่งหลายภาคส่วนมีส่วนร่วมในการปล่อยน้ำเสีย โดยบทบาทของกระทรวงทรัพยากรฯ นั้น เราได้กำหนดมาตรฐานการปล่อยน้ำเสียชัดเจน และต้องระบุไว้ในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นได้สร้างความเข้าใจภาคประชาชนโดยมีอาสาสมัครสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมาย เรื่องแหล่งกำเนิดมลพิษ 10 ประเภทที่ต้องได้รับการตรวจสอบ และรายงานไปยังท้องถิ่นเพื่อจะส่งเข้ามาที่กระทรวงอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีองค์การจัดการน้ำเสียดำเนินการควบคู่ไปด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อมีการร้องเรียนเรื่องน้ำเสียได้ประสานไปที่กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมืออย่างดี นอกจากนี้ยังได้รับมอบหมายจากรัฐบาล โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ประเทศ และยุทธศาสตร์ใหม่ได้แก่ ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ green growth เพื่อเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ด้านตัวแทนจากกรมโยธาฯ กล่าวว่า สำหรับเรื่องผังเมือง กรมโยธาธิการได้ให้ความสำคัญเรื่องรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม และการรักษาสมดุลเป็นอย่างมาก โดยวัตถุประสงค์ให้ชุมชนและบ้านเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี รักษาสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตต่างๆของชุมชน ทั้งนี้งานผังเมืองได้บรรจุโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องในการวางผังที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในการวางผังระดับประเทศภาคจังหวัดและเมือง

"สำหรับปัญหาโรงงานปล่อยน้ำเสียทางกรมมีการวางผังเมืองที่เกี่ยวข้องทั้งกับชุมชนโรงงาน มีการกำหนดพื้นที่รักษาแหล่งน้ำ และจัดโซนนิ่งพื้นที่ที่ชัดเจนแบ่งชัดระหว่างย่านอุตสาหกรรม ย่านชุมชน และพื้นที่ริมน้ำ ที่สำคัญอยู่ที่ระบบบำบัดน้ำเสีย กรมพยายามทำให้ชุมชนอยู่ร่วมกับโรงงานอุตสาหกรรมอย่างสอดคล้องไม่ให้มีปัญหา โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำสายหลัก หรือแหล่งน้ำสำคัญจะต้องให้มีพื้นที่สีเขียว การวางผังเมืองคือกำหนดพื้นที่โล่งจากระยะริมน้ำ"ตัวแทนกรมโยธาธิการกล่าว

ขณะที่นายเชวง กล่าวว่า การทำโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรมในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่ดีหากทำได้ต่อเนื่อง แต่ขอให้สังเกตให้ดีว่า ถ้าอุตสาหกรรมทำเรียบร้อย แต่แม่น้ำยังไม่ดีขึ้น ตรงนี้ต้องคิดว่าแล้วจะโทษใคร ซึ่งเรื่องนี้ท้าทายภาคส่วนอื่นๆ ของสังคมอย่างมาก

นายวิชัย กล่าวว่า มองว่านโยบายนี้เป็นความท้าทาย เพราะมองย้อนไป 40 ปี ของภาคอุตสาหกรรมไม่ว่าที่ไหนมีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำมาตลอด ซึ่งของเราอีก 10 ปีข้างหน้าก็น่าจะมีปัญหา ในส่วนของวิศวกรรมสถาน ในฐานะที่รับผิดชอบเชิงวิศวกรรมมองว่า ปัญหาแก้ได้ หากเราออกแบบตั้งแต่ต้น แต่มีเงื่อนไขที่สำคัญที่ต้องช่วยกันคิดคือ ทำอย่างไรการออกแบบจึงเหมาะสมทั้งเรื่องต้นุทนที่ผู้ประกอบการจะรับได้ ระดับไหนจะพัฒนาในเชิงอุตสาหกรรม และสุดท้ายชุมชนต้องอยู่ได้ ซึ่งมองว่าตอนนี้เรื่องการชี้แจงกับชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะในแง่เชิงวิศวกรรมเชื่อว่าเราทำได้

ด้าน นายสมิตร กล่าวว่า ความล้มเหลวในการจัดการน้ำของประเทศไทยเกิดจากสังคมไทยไม่รักสาธารณะ ไม่รักแม่น้ำ จิตสาธารณะของคนไทยน้อยมาก ทุกอย่างที่เป็นกฎเกณฑ์เราทำลายหมด ซึ่งตนมองว่าหากยังเป็นแบบนี้ การกำหนดระยะร่นแม้ว่าจะตั้งโรงงานห่างออกไปอีก 50 เมตร ก็ไม่มีความหมายใดๆ จึงมาถึงพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ต้องร่วมใจกันปัญหาจึงจะแก้ไขได้

จากนั้น ดร.ธงชัย กล่าวว่า ไอเดียของกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นไอเดียที่ดี แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้นต้องมีความรอบคอบว่าการประกาศออกไปจะมีผลดีหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่มาของการรับฟังความคิดเห็นด้วย


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,อะไหล่ victorinox,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit

ข่าว การพังถล่มของสะพานมอญ สะพานไม้สุดคลาสสิก และสัญลักษณ์ของอำเภอสังขละบุรี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สร้างความใจหายให้กับหลายๆ คน ทั้งนักท่องเที่ยว คนทั่วไป และโดยเฉพาะกับคนในพื้นที่ พร้อมกับคำถามที่ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเพราะภัยธรรมชาติอย่างที่เข้าใจ หรือจริงๆ แล้วเป็นผลพวงจากพฤติกรรมของมนุษย์

“สะพานมอญ” มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สะพานอุตตมานุสรณ์” ตั้งตามชื่อของหลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม พระเกจิซึ่งเป็นดังศูนย์รวมจิตใจของทั้งชาวไทย ชาวมอญและชาวกะเหรี่ยงแห่งเมืองสังขละ และเป็นผู้ริเริ่มสร้างสะพานดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างตัวอำเภอสังขละบุรีกับหมู่บ้านชุมชนชาวมอญอีก ฝั่งหนึ่งเข้าด้วยกัน

การสร้างสะพานเริ่มขึ้นตั้งแต่ ปี 2529 แล้วเสร็จในปี 2530 วัสดุที่ใช้สร้างเป็นไม้ทั้งหมด โดยอาศัยเพียงแรงกายและความร่วมแรงร่วมใจของชาวไทยและชาวมอญที่มีศรัทธาต่อ องค์หลวงพ่ออุตตมะในการดำเนินการก่อสร้างเท่านั้น จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “สะพานแห่งศรัทธา”

สะพานมอญแห่งนี้ มีความยาว 850 เมตร ถือว่าเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสะพานไม้อูเบ็งในประเทศพม่าเท่านั้น ตัวสะพานทอดข้ามลำน้ำซองกาเลียเชื่อมระหว่างตัวอำเภอสังขละบุรีกับหมู่บ้าน ชุมชนชาวมอญอีกฝั่งหนึ่งเข้าด้วยกัน ถือเป็นเส้นทางสัญจรหลักของชาวมอญและชาวไทยตามแนวชายแดน แม้ว่าจะมีสะพานคอนกรีตที่ กฟผ. และกรมทางหลวงสร้างข้ามแม่น้ำรันตีเพื่อข้ามไปฝั่งมอญก็ตาม แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงใช้สะพานไม้เป็นหลักในการสัญจร

 “ทุกชีวิตใน อ.สังขละบุรี มีความผูกพันกับสะพานไม้แห่งนี้มาก เพราะทำให้ชาวไทย และชาวมอญไปมาหาสู่กันได้ หลังจากการท่องเที่ยวบูมขึ้น นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาเที่ยวที่สะพานไม้แห่งนี้เป็นหลัก ซึ่งหลวงพ่ออุตตมะเคยพูดไว้ว่า ต้องการให้สะพานไม้แห่งนี้เป็นสะพานไม้เช่นนี้ตลอดไป”...คำกล่าวของชาวสังข ละบุรีที่สะท้อนถึงความสำคัญของสะพานไม้แห่งนี้

นอกจากเป็นเส้นทางสัญจรหลักของคนในพื้นที่แล้ว สะพานมอญที่สร้างด้วยฝีมือช่างพื้นบ้านแห่งนี้ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของสังขละบุรี ความงดงามตามธรรมชาติและภาพวิถีชีวิตชาวมอญคือเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยว มาเยือนสังขละบุรี ก่อกำเนิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้งที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก เป็นช่องทางสร้างรายได้ให้แก่ทั้งชาวไทยและชาวมอญในอำเภอสังขละบุรีได้อย่าง ดี

แม้หลวงพ่ออุตตมะจะแสดงเจตจำนงในสะพานไม้แห่งนี้ไว้อย่างไร “สะพานไม้แห่งศรัทธา” นี้ก็ไม่สามารถหลีกพ้นไปจากหลักอนิจลักษณ์ว่าด้วยการ “เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป” ได้

เพราะเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2556 สะพานมอญได้พังทลายขาดเป็น 2 ท่อนในช่วงกลางสะพาน เนื่องจากเกิดเหตุฝนตกหนักติดต่อกันนานถึง 3 วัน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลเชี่ยวกรากจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร พัดขยะตอไม้ลงสู่แม่น้ำซองกาเลีย ปะทะกับเสาสะพานจนต้านไม่ไหว ทำให้ช่วงกลางของสะพานพังลงเป็นระยะทางรวมกว่า 70 เมตร

นอกจากนี้ สะพานข้ามลำห้วยซองกาเลีย ที่มุ่งหน้าไปยังด่านพรมแดนบ้านพระเจดีย์สามองค์ ประชาชนก็ไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ เนื่องจากกระแสน้ำที่ไหลหลากมาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เริ่มเอ่อล้นสะพานและถนน มาจนถึงสามแยกด่านเจดีย์สามองค์ที่อยู่ห่างกันกว่า 10 กิโลเมตร ทำให้ด่านพรมแดนพระเจดีย์สามองค์ ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก

ภัยทางธรรมชาติ ฝนตก น้ำป่าไหลหลาก คือตัวการหลักของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามที่เข้าใจกัน แต่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติเหล่านั้นต่างหากที่เป็นตัวการที่แท้จริง และควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่อย่างต่อเนื่อง คือตัวการหลักทำให้ป่าไม้ในประเทศลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสมดุลทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก ดินพังถล่ม เพราะขาดต้นไม้ที่คอยทำหน้าที่อุ้มน้ำและยึดเกาะหน้าดิน ทำให้เกิดภัยธรรมชาติอย่างที่เราประสบอยู่

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยทำลายป่าไป 1/3 ของพื้นที่ป่าของประเทศ เมื่อเทียบกับเนื้อที่ป่าเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมาจะมีพื้นที่ป่าลดลงไปถึงร้อยละ 50 ของที่เคยมี โดยในช่วงปี 2504-2525 มีพื้นที่ป่าหายไปมากที่สุดหลังจากเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มุ่งเน้นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการพาณิชย์ และการสัมปทานป่าไม้และไม่มีการป้องกันการบุกรุกตามมา

ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากร มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน การลักลอบตัดไม้ทำลายป่าของทั้งนายทุนพ่อค้าไม้ เจ้าของโรงเลื่อย ผู้รับสัมปทานและชาวบ้านทั่วไป การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก โดยไม่ได้ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพ การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่าของทางการที่ทำอย่างไม่ชัดเจนก่อให้เกิดความสับสน ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนาแก่ผู้ที่เข้าครอบครอง การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ถนนหนทาง รวมถึงสัมปทานการทำเหมืองแร่ ที่ต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมากเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำเหมืองแร่

สิ่งต่างๆ เหล่านี้คือสาเหตุหลักที่ทำให้พื้นที่ป่าไม้ของเมืองไทยลดลงอย่างรวดเร็ว จนส่งผลกระทบต่อความสมดุลทางธรรมชาติ และก่อให้เกิดปัญหาตามมา ถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาดังกล่าว

การประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ 2507 คือมาตรการจัดการป่าของประเทศไทย แต่เนื่องจากเป็นมาตรการที่มุ่งในการควบคุมพื้นที่ป่าเพื่อการใช้ประโยชน์ จากป่าเป็นสำคัญ ขาดการป้องกันการเข้าครอบครอง ทั้งการให้สัมปทานไม้ในอดีต ยังคงมีการอนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์หรือกระทั่งอยู่อาศัยในพื้นที่ ดังนั้นพื้นที่ป่าสงวนจึงมีพื้นที่ลดลงอย่างรวดเร็ว

การอนุรักษ์ป่าที่ได้ผลมากกว่าการประกาศป่าสงวน คือ “การประกาศเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์” หรือพื้นที่คุ้มครอง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า วนอุทยาน เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เพื่อป้องกันการรุกล้ำเขตป่า

ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในประเทศไทยประมาณ 20% ของพื้นที่ประเทศไทย เพื่อรักษาพื้นที่ป่าไว้ก็ตาม แต่จากข่าวการจับกุมไม้เถื่อนและการลักลอบตัดไม้ที่ยังคงมีให้เห็นอยู่ไม่ เว้นแต่ละวัน ควบคู่ไปกับข่าวความเสียหายของพื้นที่ทำกินและบ้านเรือนประชาชนที่เกิดจาก น้ำท่วม ดินถล่ม และน้ำป่าไหลหลาก ที่เกิดขึ้นในทุกภาคของประเทศไทย สะท้อนให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของภาครัฐยังไม่ดีพอ

ขั้นตอนการประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในอดีตที่ขาดกระบวนการการมีส่วนร่วม ของชุมชน และการสำรวจเพื่อคุ้มครองสิทธิชุมชน ส่งผลให้เกิดปัญหาในเชิงสิทธิชุมชนมากมาย มีการประกาศพื้นที่ทับซ้อนกับพื้นที่ใช้ประโยชน์ทำกิน เก็บหาของป่าของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับภาครัฐอยู่เนืองๆ ถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐจะให้น้ำหนักเรื่องนี้อย่างจริงจัง มีนโยบายที่ชัดเจน และมีกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของชุมชนต่อนโยบายของรัฐและเป็นการแก้ปัญหาอย่าง ยั่งยืน

ปัญหาการทำลายป่าไม้และสิ่งแวดล้อมมิใช่เพียงความรับผิดชอบของภาครัฐเท่า นั้น แต่ยังเป็นโจทย์ใหญ่ของสังคมไทยที่ต้องร่วมกันคิดว่าเราจะแก้ปัญหาที่เกิด ขึ้น รวมถึงรักษาป่าไม้ที่ยังเหลืออยู่ไว้ได้อย่างไร

- See more at: http://www.gotomanager.com/content/%E2%80%9C%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B2%E2%80%9D-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90#sthash.oJgwPcFu.dpuf

Tags : สรุปเสวนา อนุรักษ์แม่น้ำ การพัฒนาอุตสาหกรรม อย่างยั่งยืน

view