สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ถอดบทเรียนสิ่งแวดล้อม จากมหันตภัยน้ำมันรั่วสู่ท้องทะเล

ถอดบทเรียนสิ่งแวดล้อม จากมหันตภัยน้ำมันรั่วสู่ท้องทะเล

จากประชาชาติธุรกิจ

เหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล ที่กล่าวกันว่าร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม คือการระเบิดที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน "ดีปวอเตอร์ ฮอไรซัน" กลางอ่าวเม็กซิโก ซึ่งบริษัทบริติช ปิโตรเลียม หรือบีพี ได้รับสัมปทานจากสหรัฐ

อุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ 20 เมษายน 2553 ซึ่งทำให้มีคนงานเสียชีวิต 11 คน และต้องใช้เวลา 87 วันกว่าจะหยุดการรั่วไหลของน้ำมันได้ ประเมินว่ามีน้ำมันปนเปื้อนสู่ท้องทะเลราว 780 ล้านลิตร จากภาพถ่ายดาวเทียมชี้ว่า ท้องทะเลที่ได้รับผลกระทบโดยตรงครอบคลุมพื้นที่ราว 68,000 ตารางไมล์ (180,000 ตารางกิโลเมตร)

ในเดือนมิถุนายน 2553 บีพีตั้งกองทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ มูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่คาดว่ามูลค่าความเสียหายทั้งต่อคนและสิ่งแวดล้อมสูงกว่าตัวเลขดังกล่าว หลายเท่า

กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ สิ่งมีชีวิตในทะเล หรือระบบนิเวศในทะเล ซีบีเอสรายงานว่า สิ่งมีชีวิตประมาณ 400 สปีชีส์อยู่ในภาวะเสี่ยง แม้เหตุการณ์นี้จะผ่านมา 3 ปีเศษแล้ว แต่ภัยคุกคามที่มีต่อสิ่งแวดล้อมยังไม่จางหายไป

หนังสือพิมพ์ ไทมส์-พิเคยูน อ้างรายงานของสมาพันธ์สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติแห่งสหรัฐว่า ปัจจุบันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากเหตุการณ์แท่นขุดเจาะน้ำมันระเบิดในอ่าว เม็กซิโกยังไม่สิ้นสุด ทุกฝ่ายยังคงต้องร่วมมือกันหาแนวทางแก้ปัญหาเหล่านี้ พร้อมระบุถึงสถานการณ์ของสัตว์และพืชทะเลหลังเหตุการณ์ผ่านไป 3 ปี

รายงาน ของสมาพันธ์ระบุว่า ชายฝั่งทะเลยาว 1,100 ไมล์ (1,770 กม.) มีน้ำมันปกคลุม รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำที่ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ในรัฐลุยเซียนา และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีเต่าทะเลกว่า 1,700 ตัว ที่ถูกคราบน้ำมันปกคลุมจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ สายพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ เต่าหญ้า (Kemps ridley turtle) ซึ่งเป็นเต่าทะเลสปีชีส์ที่เสี่ยงสูญพันธุ์มากที่สุดในโลก

นอก จากนี้ยังมี "โลมาปากขวด" 650 ตัว เคลื่อนไหวไม่ได้เพราะคราบน้ำมันบนผิวหนัง ซึ่งรวมถึงลูกโลมาหรือโลมาที่เพิ่งคลอด 130 ตัว ส่งผลกระทบต่อจำนวนประชากรโลมา

ส่วนกรณีเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่อะแลสกา เมื่อ 24 มีนาคม 2532 เมื่อเรือขนส่งน้ำมันของบริษัทเอ็กซอน จน กระทั่งมาติดอยู่บนโขดปะการังปรินซ์วิลเลียมซาวนด์ บริเวณชายฝั่งรัฐอะแลสกา ส่งผลให้เกิดน้ำมันดิบรั่ว 260,000 ถึง 750,000 บาร์เรล กินพื้นที่กว่า 28,000 ตารางกิโลเมตร

เหตุการณ์ที่ปรากฏนับได้ว่าเป็นเหตุการณ์ น้ำมันรั่วครั้งใหญ่ที่สุดในสหรัฐ นับตั้งแต่ปี 2532 จนกระทั่งเหตุการณ์น้ำมันรั่วล่าสุดที่อ่าวเม็กซิโกเมื่อ 2553

การ รั่วไหลน้ำมันครั้งดังกล่าวบริเวณอ่าวปรินซ์วิลเลียมซาวนด์ส่งผลให้สัตว์น้ำ เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งนิตยสารอเมริกัน ไซเอนติฟิกระบุว่า มีปลาแซลมอนจำนวนนับไม่ถ้วน นากทะเล 2,800 ตัว แมวน้ำ 300 ตัว นกทะเลหลายชนิดอีกกว่า 250,000 ตัว และวาฬอีก 22 ตัว รวมไปถึงกระทบต่อระบบนิเวศห่วงโซ่อาหารในทะเลและผลกระทบต่อเนื่อง กระทั่งปี 2553 เอกสารของรัฐบาลสหรัฐประเมินว่า ยังมีน้ำมันอีก 23,000 แกลลอน แทรกซึมอยู่ในพื้นดิน

หลัง เกิดเหตุการณ์ 20 ปี ทีมจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาลงพื้นที่สำรวจบริเวณอ่าวปรินซ์วิลเลียม ซาวนด์พบว่า จากเหตุน้ำมันรั่วที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศตามชายฝั่งทะเล ที่อาจจะต้องใช้เวลาฟื้นฟูมากกว่า 30 ปี นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์

ทั้ง นี้รัฐบาลของมลรัฐอะแลสกา และรัฐบาลกลางสหรัฐ ใช้เงินทั้งสิ้น 173.2 ล้านดอลลาร์ ในการจัดการฟื้นฟูและป้องกันเหตุรั่วไหลที่เกิดขึ้น โดยบริษัทเอ็กซอนใช้เงินอีก 39.9 ล้านดอลลาร์ สำหรับการทำความสะอาดบริเวณชายฝั่งและเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ในท้ายที่สุดเอ็กซอนยอมจ่ายเงินค่าเสียหายให้กับรัฐบาลเป็นจำนวนกว่า 507 ล้านดอลลาร์


ใช้บทเรียนน้ำมันรั่วป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เกือบหนึ่งสัปดาห์เต็มแล้ว ที่ภารกิจกู้ภัยหลังเหตุการณ์ท่อรับน้ำมันดิบของ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ในกลุ่ม บมจ.ปตท.รั่วไหลกลางทะเลใน จ.ระยอง ยังคงดำเนินการต่อเนื่อง ถึงตอนนี้แม้คราบน้ำมันซึ่งคาดว่ามีปริมาณมากถึง 50-70 ตัน ที่ถูกกระแสคลื่นซัดเข้าสู่ฝั่ง ส่งผลกระทบทำให้สภาพแวดล้อมทั้งในทะเลและชายหาด บริเวณอ่าวพร้าว อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-เกาะเสม็ด เสียหายหนัก คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น แต่อาจใช้เวลาอีกนาน กว่าจะฟื้นฟูเยียวยาให้กลับมาดังเดิม

ขณะที่ ชาวประมง ผู้ประกอบการท่องเที่ยว รีสอร์ต และธุรกิจต่อเนื่องจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบ ก็ได้รับการสนองตอบจากภาครัฐ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า โดยนายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานให้ความช่วยเหลือเยียวยาขึ้น รับแจ้งเหตุความเสียหาย ณ ศูนย์ประสานงาน ซึ่งกระจายอยู่หลายจุด ทั้งที่ศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ในพื้นที่อุทยานฯ และจุดอื่น ๆ

ใน ส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แม้หลังเกิดเหตุผู้บริหารระดับสูงจากหลายหน่วยงาน ตลอดจนฝ่ายนโยบายอย่างนายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน จะลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย พร้อมสั่งการให้หน่วย

งาน ที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหา แต่เนื่องจากไม่มีการบูรณาการที่ดีพอ ขาดความพร้อม ทักษะ และประสบการณ์ในการรับมือเหตุฉุกเฉินซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

ส่ง ผลให้การแก้ไขปัญหาดำเนินไปคนละทิศละทาง กว่าจะตั้งหลักได้ก็เกือบไม่ทันการ คราบน้ำมันกระจายออกไปในวงกว้าง สร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งอย่างประเมินค่ามิได้

ขณะ ที่ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล ในฐานะเจ้าของน้ำมันที่รั่วไหล แม้พยายามแก้ไขสถานการณ์ตั้งแต่ต้น แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านบุคลากรและเครื่องไม้เครื่องมือ ทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างล่าช้า คำมั่นที่จะควบคุมสถานการณ์และขจัดคราบน้ำมันในทะเลให้เป็นปกติได้ภายใน 3 วัน เลยยืดเยื้อบานปลายเกินกว่าที่คาดคิด

เสียงสะท้อนในเชิงเป็นห่วง ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อม จากคราบและมลพิษสารเคมีหลากหลายชนิด ทั้งที่ปนเปื้อนกับน้ำทะเล เกาะจับแนวปะการัง ตกตะกอนลงบนหิน ทราย ดินโคลนใต้ท้องทะเล และบริเวณชายหาด จนกลายเป็นทะเลสีดำเพียงชั่วข้ามคืน จึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล ต้องรับฟังและหาทางแก้โดยเร็วที่สุด

แม้ถือเป็นเรื่องถูกต้องที่ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล กับ บมจ.ปตท.ในฐานะบริษัทแม่ ออกแถลงการณ์แสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าว พร้อมให้คำมั่นจะดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเดือดร้อน ขณะเดียวกัน จะเร่งฟื้นฟูเยียวยาลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมทั้งทางบกและทางทะเล แต่สิ่งที่สาธารณชนต้องการมากกว่านั้นคือ หลักประกัน ตลอดจนมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหา ไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบจากการประกอบธุรกิจที่ หละหลวม ไม่ระมัดระวัง หรือประมาทเลินเล่อของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่าง ถาวร


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,อะไหล่ victorinox,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit

Tags : ถอดบทเรียน สิ่งแวดล้อม มหันตภัยน้ำมันรั่ว ท้องทะเล

view