สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ย้อนรอยเหตุน้ำมันรั่ว9ครั้งใหญ่ในไทย

จาก โพสต์ทูเดย์

ย้อนรอยเหตุน้ำมันรั่ว9ครั้งใหญ่ในไทย

ย้อนรอยเหตุน้ำมันรั่ว 9 ครั้งใหญ่ในไทยระหว่างปี 2540-2553 ขณะที่เหตุน้ำมันรั่วที่ระยองถือว่าอยู่ในการรั่วไหลระดับ 2 จากทั้งหมด3 ระดับ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ฐานความรู้ทางทะเล (http://www.mkh.in.th) ระบุว่า  จากสถิติกรมเจ้าท่า ระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2553 พบการรั่วไหลของน้ำมันในปริมาณมาก (20,000 ลิตรขึ้นไป) ทั้งสิ้น 9 ครั้ง พบเกิดในทะเลและชายฝั่งท่าเทียบเรือ ส่วนมากพบการรั่วไหลบริเวณท่าเทียบเรือจากอุบัติเหตุระหว่างการขนถ่ายน้ำมัน และจากอุบัติเหตุต่างๆ ดังนี้

ลำดับ

วัน เดือน ปี

ชนิดน้ำมัน

สถานที่เกิด

สาเหตุ

ปริมาณ

1

22 พฤษภาคม 2544

น้ำมันดิบ

ท่อขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ว จำกัด ท่าเรือมาบตาพุด ระยอง

Brakeaway Coupling ขนาด 16 นิ้ว ที่กำลังขนถ่ายจากเรือ Tokachi หลุดออกจากกันทำให้น้ำมันรั่วไหล

30 ตัน

2

15 มกราคม 2545

น้ำมันเตา

หินฉลาม เกาะจวง นอกฝั่งอำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี

เรือ Eastern Fortitude สัญชาติปานามา ชนหินฉลาม

234 ตัน

3

17 ธันวาคม 2545

น้ำมันเตา

ทางเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ด้านใต้ของเกาะสีชัง ชลบุรี

เรือ Kota Wijaya โดนกับเรือ Sky Ace ทำให้มีน้ำมันเตารั่วไหลลงทะเล

210 ตัน

4

20 พฤศจิกายน 2548

น้ำมันดิบ

บริเวณทุ่นผูกเรือ SBM ของบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) อ.ศรีราชา ชลบุรี

ท่อเชื่อมต่อหลุดขณะส่งถ่ายน้ำมัน เนื่องจากคลื่นลมแรง

20 ตัน

5

4 พฤษภาคม 2549

น้ำมันเตา

บริเวณหน้าท่าเทียบเรือ บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ง จำกัด อ.มาบตาพุด ระยอง

รั่วไหลจากรอยรั่วที่ระวางหมายเลข 2 ของเรือบรรทุกน้ำมัน CP 34

20 ตัน

6

6 ตุลาคม 2550

Saraline 185V

บริเวณแท่น Trident-16 (Offshore Mobile Drilling Unit) ของบริษัท Chevron
Thailand

รั่วไหลจาก Storage Tank

220 บาร์เรล


7

9 ธันวาคม 2550

น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา

ในทะเลห่างชายฝั่ง อ.สทิงพระ จ.สงขลา ประมาณ 6 ไมล์ทะเล

เรือบรรทุกแก๊สของบริษัท เวิร์ลไวด์ทรานสปอร์ต จำกัด อับปาง

ประมาณ 20,000 ลิตร

8

15 มิถุนายน 2551

น้ำมันเตา

บริเวณอู่เรือบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) อำเภอพระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ

รั่วไหลจากเรือสินค้า Chol Han Vong Chong Nyon Ho สัญชาติเกาหลีเหนือ

คาดว่าไม่น้อยกว่า 40,000 ลิตร

9

4 กันยายน 2554

ดีเซล (B5)

ห่างจากเกาะราชาใหญ่ ทางด้านตะวันออก ประมาณ 4 ไมล์ทะเล จ.ภูเก็ต

เรือบรรทุกน้ำมันชื่อ ส.โชคถาวร 6 จม เนื่องจากสภาพภูมิกาศเลวร้ายและมีคลื่นลมแรง

ประมาณ 40,000 ลิตร

ขณะที่เหตุการณ์ท่อรับน้ำมันดิบของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC)รั่วกลางทะเล จ.ระยอง เมื่อวันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมานั้น มีปริมาณน้ำมันรั่วประมาณ 50,000 ลิตร หรือประมาณ 316 บาร์เรล ประมาณ 50-70 ตันลิตรถือว่าอยู่ในระดับการรั่วไหลที่ 2 จากทั้งหมด 3 ระดับ(Tier)ตามการจำแนกในแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่ง ชาติ ซึ่งระบุไว้ดังนี้  

1.ระดับที่ 1 ปริมาณรั่วไหลไม่เกิน 20 ตันลิตร ส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างขนถ่ายน้ำมัน ผู้ที่ทำให้เกิดน้ำมันรั่วไหลต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการขจัดคราบน้ำมัน และ/หรือได้รับความช่วยเหลือจาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยต้องแจ้งให้กรมเจ้าท่าทราบก่อน

2.ระดับที่ 2 รั่วไหลมากกว่า 20 - 1,000 ตันลิตร อาจเกิดจากเรือโดนกัน การขจัดคราบน้ำมันต้องร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ ตามแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ และต้องแจ้งให้กรมเจ้าท่าทราบก่อน หากเกินขีดความสามารถของทรัพยากรที่มี อาจต้องขอรับการสนับสนุนจากต่างประเทศ

3.ระดับที่ 3 ปริมาณรั่วไหลมากกว่า 1,000 ตันลิตร อาจเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรง การขจัดคราบน้ำมันในระดับนี้ต้องการความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆในประเทศ และต้องอาศัยความช่วยเหลือระดับนานาชาติ

สำหรับวิธีการขจัดคราบน้ำมันสามารถกระทำได้หลายวิธี โดยพิจารณาจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น ชนิดของน้ำมัน ปริมาณการรั่วไหล ทิศทางและความเร็วของกระแสน้ำ กระแสลม สภาพอากาศ ลักษณะทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งวิธีการขจัดคราบน้ำมันสามารถแบ่งได้วิธีการ 5 วิธีดังนี้

1.การปล่อยให้สลายตัวตามธรรมชาติ

เหมาะสมในกรณีที่มีการรั่วไหลจำนวนเล็กน้อย และชนิดของน้ำมันที่รั่วไหลสามารถสลายตัวเองได้ดีในธรรมชาติ เช่น น้ำมันดีเซล แต่ยังต้องมีการติดตามและเฝ้าระวังผลกระทบของคราบน้ำมัน ว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงในลักษณะใดบ้าง เพื่อหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป

2.การกักและเก็บ

ทำได้โดยใช้ทุ่นน้ำมัน (Boom) จำกัดขอบเขตการแพร่กระจายของน้ำมันให้มีความหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น จึงใช้เครื่องเก็บน้ำมัน (Skimmer) เก็บคราบน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือใช้วัสดุดูดซับคราบน้ำมันอื่นๆ เช่น ลำไม่ไผ่ มัดฟางข้าว เป็นต้น

3.ใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน

เป็นวิธีการที่ใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมันบนผิวน้ำได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น การใช้สารเคมีที่ทำให้น้ำมันแตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กๆ (oilspill dispersant) หรือสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ (biosurfactant) ที่ผลิตจากจุลินทรีย์บางชนิด สารเคมีที่นำมาใช้ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางน้ำ และต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ควรใช้วิธีนี้เมื่อขจัดคราบน้ำมันไม่ได้ผลหรือไม่ทันการ

4. การเผา

สามารถใช้วิธีนี้ได้ก่อนที่คราบน้ำมันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและ เคมี และคราบน้ำมันต้องมีความหนาตั้งแต่ 3 มิลลิเมตรขึ้นไป โดยเริ่มจากล้อมคราบน้ำมันด้วยทุนกักเก็บชนิดพิเศษที่ทนไฟได้ดี เช่น Ceramic type boom และเริ่มทำการเผา การขจัดคราบน้ำมันด้วยวิธีนี้ต้องทำด้วยครามเชี่ยวชาญเป็นพิเศษและมีการวาง แผนเป็นอย่างดี

5. การทำความสะอาดชายฝั่ง

เป็นวิธีขจัดคราบน้ำมันในกรณีที่คราบน้ำมันถูกพัดเข้าหาฝั่ง โดยใช้คนและอุปกรณ์เข้าเก็บรวบรวมคราบน้ำมัน และใช้อุปกรณ์ช่วยเก็บคราบน้ำมันในกรณีที่คราบน้ำมันจับตัวเป็นก้อนหรือปน เปื้อนกับขยะ เช่น พลั่ว เสียม และถุงพลาสติก รวมทั้งใช้เครื่องมือตักน้ำมันในกรณีที่คราบน้ำมันยังไม่จับกันเป็นก้อน


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,อะไหล่ victorinox,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit

Tags : ย้อนรอย เหตุน้ำมันรั่ว ครั้งใหญ่ในไทย

view