สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดประวัติ วีรชัย พลาศรัย หน.ทีมสู้คดีพระวิหาร

เปิดประวัติ "วีรชัย พลาศรัย" หน.ทีมสู้คดีพระวิหาร

จากประชาชาติธุรกิจ


รับ บทหัวหน้าคณะต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร มาตั้งแต่ครั้งรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อทางการกัมพูชายื่นร้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ให้ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารอีกครั้ง รัฐบาลจึงไว้วางใจมอบหมายภารกิจสำคัญนี้อีกครั้งเช่นกัน

เกิด เมื่อ 9 มิถุนายน 2503 ชื่อเล่น  "แสบ" การศึกษา ปริญญาตรีและปริญญาโท มหาวิทยาลัยปารีส (นองแตร์) ปริญญาเอกจากซอร์บอนน์ ฝรั่งเศส

เป็นลูกหม้อกระทรวงการต่างประเทศ บรรจุรับราชการ ประเดิมจากตำแหน่ง เลขานุการตรี กองแอฟริกา และกลุ่มอาหรับ

ชีวิต ราชการก้าวหน้าเรื่อยมา เติบโตเป็น อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 3 มีนาคม 2549, 15 กันยายน 2550 อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ต่อมาถูกโยกออกจากตำแหน่ง ท่ามกลางกระแสข่าวฝ่ายการเมืองไม่พอใจ ไปเป็นเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง เมื่อ 28 พฤษภาคม 2551

กลับ มาเป็น อธิบดีกรมสัญญาฯอีกครั้ง 19 สิงหาคม 2551 กระทั่ง 26 พฤษภาคม 2552 ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์

เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย ในการแถลงปิดท้าย คดีกัมพูชาขอให้ศาลโลกออกมาตรการชั่วคราวให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร

ได้ รับครุฑทองคำ รางวัลสำหรับผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2553-2554 ยกย่องข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้วยความรู้ความสามารถซื่อสัตย์สุจริต

มีคุณธรรม เป็นกลางทางการเมือง ปฏิบัติงานโดยยึดประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ

ประกาศสู้คดีพระวิหารครั้งนี้เต็มที่ทุกประเด็น เพื่อรักษาอธิปไตยของไทย

คอลัมน์ คนตามข่าว โดย ดุษฎี สนเทศ (มติชนรายวัน 19 เมษายน 2556)


ทำดีที่สุดแล้ว

จาก โพสต์ทูเดย์




วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ให้สัมภาษณ์นิตยสารดิฉันฉบับล่าสุด

 "...ไม่ ว่าคำตัดสินจะออกมาอย่างไร ผมเชื่อว่าทุ่มเททำอย่างดีที่สุดแล้ว แล้วตอนจบถ้าท่านจะบอกว่า ผมไม่ได้เรื่อง ไม่ฉลาด ผมก็ยอม แต่ผมไม่อยากให้พูดว่า ไม่สู้ ไม่อยากให้บอกว่าไม่ทำ หรือทำไม่เต็มที่..."

นี่ คือคำพูดบางช่วงบางตอนจากบทสัมภาษณ์พิเศษ "วีรชัย พลาศรัย" เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยกองบรรณาธิการนิตยสารดิฉัน ที่ได้สัมภาษณ์ก่อนที่ วีรชัย จะเดินทางไปให้การทางวาจาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี2505

ผู้สนใจสามารถติดตามบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ในนิตยสารดิฉัน ฉบับวันที่ 30 เม.ย.ซึ่งวางแผงแล้วในขณะนี้ 


นพดลยันย้าย"วีรชัย"ไม่เกี่ยวคดีพระวิหาร

จาก โพสต์ทูเดย์

"นพดล"ปัดสั่งย้าย "วีรชัย" สมัยเป็นรมวต่างประเทศเหตุเห็นต่างเรื่องพระวิหาร โวแถลงการณ์ร่วมทำให้รักษาดินแดนไว้ได้

นาย นพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะอดีตรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า กรณีที่ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ระบุว่า ตนย้ายนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพราะความเห็นแตกต่างกันเรื่องปราสาทเขาพระวิหารนั้น เป็นความเท็จโดยสิ้นเชิง

ทั้ง นี้ยืนยันว่าการโยกย้ายดังกล่าวเป็นการหมุนเวียนข้าราชการเป็นเรื่อง ปกติ และเรื่องนี้เกิดเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งนายชวนนท์จับแพะชนแกะมาโจมตี ขอย้ำว่าการย้ายนายวีรชัยไม่เกี่ยวกับประเด็นปราสาทพระวิหารแต่อย่างใด

นาย นพดล กล่าวอีกว่า ถ้าไม่มีคำแถลงการณ์ร่วมของไทย-กัมพูชาเมื่อปี2551 กัมพูชาเอาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว แต่เพราะเอกสารชิ้นนี้กัมพูชาจึงยอมตัดพื้นที่ทับซ้อนออก และขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น นี่คือผลงานของพรรคพลังประชาชนและนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ปกป้องดินแดนพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเอาไว้


จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า

วันนี้ 18 เม.ย.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หน้าเพจเฟซบุ๊กของนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้โพสต์ข้อความแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องแผนที่ภาคผนวกที่ 1 หรือ 1ต่อ 2 แสน โดยระบุว่าคำตัดสินของศาลโลกปี 2505 ที่ยกพื้นที่ประสาทเขาพระวิหารให้เขมร ได้ใช้เกณฑ์แผนที่ภาคผนวกที่ 1 เรียบร้อยแล้ว มีแต่ฝ่ายไทยที่โมเมว่าไม่เกี่ยวกับพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร มีวิธีเดียวที่จะเอาคืนได้คือใช้กำลังทหาร ขนาดรัฐบาลทหาร รัฐบาลโปรเจ้า ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ คนไทยที่คิดว่าฉลาด ทำงานในกรอบ โวยเรื่องนี้นอกจากไม่เคยศึกษายังโง่ด้วย

ข้อความที่นายสมศักดิ์โพสต์ในเฟซบุ๊ค
เรื่องดินแดนโดยรอบเขาพระวิหารน่ะ (ที่เรียกว่า "พื้นที่่ 4.6 ตร.กม." น่ะ) มัน "จบ" ไปตั้งครึ่่งศตวรรษแล้ว ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบอย่างไร
คือ แม้ว่า คำตัดสิน 2505 ไม่ได้เป็นกรณีพื้นที่่ดังกล่าวโดยตรง แต่เหตุผลสำคัญที่ศาล ตัดสินให้ พื้นทีปราสาทเป็นของกัมพูชา ก็เพราะศาลได้วินิจฉัยและยอมรับว่า "แผนที่ผนวก 1" เป็นส่วนหนึงของสัญญาที่มีผลผูกมัดทั้ง 2 ฝ่าย
(ไม่งั้นจู่ๆ เขาตัดสินว่า พื้นทีปราสาทเป็นของกัมพูชา ได้ยังไง? พวกทีมาโวยวายๆ ไม่เคยตอบคำถามนี้จริงๆ แล้วก็โมเมๆว่า ศาลตัดสินเฉพาะตัวพื้นทีปราสาท ศาลไม่เคยพูดถึงเรื่องเขตแดนหรือแผนที่ ฯลฯ ปัดโธ่ จู่ๆ ทำไมเขายกพื้นที่ตัวปราสาทให้กัมพูชาล่ะ เขายกให้เพราะวินิจฉัยว่า มันอยู่ในเขตกัมพูชา ตามแผนที่ผนวก 1 คือ เขาถือเอาแผนที่ผนวก 1 เป็น "เกณฑ์ตัดสิน" นั่นแหละ)
ถ้ามันมีโอกาสของการไม่จบ หรือรื้อฟื้น ได้จริงๆนะ รัฐบาลทหาร รัฐบาลพระราชทาน รัฐบาลโปรเจ้า ไม่รู้เป็นสิบรัฐบาล จากปี 2505 เขารื้อฟื้นขึ้นมานานแล้ว
ที่ฝ่ายไทย ไม่เคยรื้อฟื้น ก็เพราะรู้ว่า ไม่มีทางรื้อฟื้นได้ เพราะในเมื่อคำตัดสินเรื่องพื้นที่ปราสาท มันอยู่บน "ฐาน" ของการตีความเรือง "แผนที่ผนวก 1" แบบนั้น ในเมื่อเราไม่มีข้อมูลหรืออะไรใหม่ ภายในเวลาที่กำหนดให้อุทธรณ์ได้ ไม่เฉพาะพื้นที่ปราสาท แต่เรือ่งเขตแดนทั้งหมด (เพราะมันไมใช่เรืองโดดๆอยู่แล้ว) ก็ไม่มีทางรื้อฟื้นอะไรได้
คือ ถ้ายอมรับว่า พื้นที่ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชาตามคำตัดสิน 2505 นะ ก็ไม่มีทางไม่ยอมรับเรือง แผนที่ผนวก 1 ไปด้วย เพราะมันมาด้วยกันโว้ยครับ (ต่อให้ไม่ยอมรับอันหลัง ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะคำตัดสินอันแรกมัน "พ่วง" หรือ "ขึ้นต่อ" การวินิจฉัยอันหลัง)
จริงๆ มี "วิธีเดียว" ทีจะเอา "ดินแดน 4.6" เป็นของไทยแบบแน่ๆ คือ เอากำลังทหารยึด ทำสงครามกับกัมพูชาไปเลย และต้องใช้กำลังทหารมหาศาล คอยยึดครองเต็มพื้นทีนั้น อย่างถาวรไปเลย
ซึ่งขนาดรัฐบาลทหาร รัฐบาลโปรเจ้า หลายสิบชุดที่ผ่านมา ก็รู้ว่า ทำไม่ได้ รู้ว่า ถ้าขืนทำแบบนั้น เป็นการเสียสติแน่ๆ

คนไทยทีฉลาดจริงๆ จะต้องยุติเรืองนี้ และหาทางว่า ทำยังไง ภายใต้ "กรอบ" ที่ว่า
- ยังไงพื้นที่ดังกล่าว ก็ไม่ใช่ของเราแน่ๆ ตามการตัดสินนั้น
- และไม่มีทางทีไทยจะเข้าไปยึดด้วยทหารอย่างทีว่าแน่ๆ (และทางกฎหมายระหว่างประเทศก็ไม่มีทางรื้อฟื้นได้ดังกล่าว)
เราจะ "ได้ประโยชน์" มากทีสุดอย่างไร เช่น หาทางขอเจรจา พัฒนาพื้นทีดังกล่าวร่วมกัน เป็นต้น
คนทีโวยวายๆเรืองนี้ ในไม่กีปีนี้ นอกจากไม่เคยศึกษาอะไรจริงๆแล้ว ยัง "โง่" ด้วย ไม่รู้จักว่า ทำยังไงทีจะเป็นประโยชน์กับประเทศ ในสภาพที่ทำเป็นอย่างอืนไม่ได้แล้วเช่นนี้ แ้ล้วก็ยิ่งโวยวายๆ ทำความตึงเครียด ยิ่งทำให้เสียประโยชน์ที่ไทยเองจะได้


เด้ง

จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า คอลัมน์เลียบวิภาวดี


คำ ว่า “เด้ง” เป็นคำแสลงที่ใช้ในวงราชการและวงการเมืองที่แปลได้แบบกำปั้นทุบดินว่า “มีคำสั่งย้าย” หรือ “มีคำสั่งปลด” ให้พ้นจากตำแหน่ง

โดยผู้มีอำนาจสั่งเด้งอาจจะออกคำสั่งให้ผู้ถูกเด้งย้ายไปช่วยราชการที่อื่นเป็นการชั่วคราว หรือย้ายขาดจากตำแหน่งเดิมอย่าง
ถาวรหรือย้ายเอาไปดองทำกิมจิ หรือเด้งรัฐมนตรีไปตบยุงอยู่กับบ้าน

หลัง จากมีการ “เด้ง” แล้ว ผู้ถูกเด้งอาจจะ “เก็บลิ้น ทำตัวเป็นนกปากเจ็บ” ไม่กล้าขยายความถึง “สาเหตุการเด้ง” ให้นายต้องเสียหาย และให้ตนเองต้องเสียความรู้สึกเพิ่มขึ้น

ในขณะเดียวกัน ผู้ถูกเด้งบางรายอาจเป็น “หมูไม่กลัวน้ำร้อน” จึงออกมาแฉฉอดๆ ว่าทำไมตนถึงถูกเด้ง

การ เด้งในวงราชการและวงการเมืองเกิดขึ้นตลอดเวลา กลายเป็นข่าวขึ้นมาก็ “ฮือฮาแบบไฟไหม้ฟาง” ไม่ช้าไม่นานก็กลายเป็น “คลื่นกระทบฝั่ง” เช่น

กรณี ถวิล เปลี่ยนศรี ถูกเด้งจากสมช. ไปดูดโอเลี้ยงอยู่สำนักนายกฯ เพราะตนเองไม่ได้ฝักใฝ่ในพรรคการเมือง เมื่อนายใหญ่ต้องการเคลียร์พื้นที่ตำแหน่งที่ตนครองอยู่ให้พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ถูกเด้งมาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติมานั่งแทนจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมตนเอง ถึงถูกเด้ง

กรณี ขุนช้างน้อยเด้งอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายพ้นจากตำแหน่งเมื่อปีพ.ศ. 2551 เพราะข้าราชการผู้นี้ได้คัดค้านขุนช้างน้อยไปลงนามในแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา เอื้อให้เขมรนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นบัญชีมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งจะทำความเสียหายให้แก่ประเทศไทยอย่างเอกอุ

แม้ปลัดกระทรวงในยุคนั้นจะทักท้วงว่า “เป็นการเด้งที่ไม่เหมาะสม” ขุนช้างน้อยก็ยืนยันจะต้อง “เด้ง” โดยอ้างว่า
“ตนไม่สามารถร่วมงานกับอธิบดีที่มีความคิดเช่นนี้ได้”

ถ้าพูดภาษานักเลงอย่าง “ไอ้มิ่ง” ของ “ไม้เมืองเดิม” ก็จะพูดว่า “มึงรักชาติจนงมงาย กูก็จะเด้งมึงให้พ้นๆ ไปจากกู”

กรณี ล่าสุด ผกก.สภ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ถูก ผบก.ภ.จว.แม่ฮ่องสอน เซ็นคำสั่ง “เด้ง” ให้ไปตบยุงอยู่ บก.ภ.จว.แม่ฮ่องสอน เป็นเวลา 30 วัน โดยมีการระบุเหตุผลของการเด้งว่า หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ศูนย์อพยพบ้านแม่สุรินจนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จำนวนมาก ผกก.กลับไม่เข้าไปที่เกิดเหตุโดยฉับพลัน

แต่ เบื้องหลังข่าวของการเด้งครั้งนี้ กลับมีการนินทาว่า “นายมาลงพื้นที่ทั้งที ผกก.กลับไม่ได้รีบไปเสนอหน้าต้อนรับ” จึงทำให้ “ต้องถูกเด้ง”

นี่ ดีนะครับที่ “แค่ถูกเด้ง” ถ้าเหตุการณ์นี้ไปเกิดขึ้นกับผู้ยิ่งใหญ่ในกระทรวงมหาดไทย อาจจะไม่ใช่ “แค่เด้ง” เท่านั้น ผู้ไม่เสนอหน้ามาต้อนรับนาย ซึ่ง “สมควรตาย” อาจถูกนายสั่งให้ “ไปตายเสียให้พ้นๆ”

ใน บรรดา “จอมเซ็นเด้ง” ผู้ขยันสั่งเด้งข้าราชการและเด้งนักการเมืองอย่าง “มือเติบ” สุรุ่ยสุร่าย” ต้องยกโป้งให้ “เสี่ยเหลี่ยม” เป็น “นักเด้งมือวางอันดับหนึ่ง”

ยุค ที่เสี่ยเหลี่ยมครองอำนาจด้วยตนเอง ปรากฏว่ามีการสั่งเด้งข้าราชการและนักการเมืองอย่างมันมือยิ่งกว่าผู้นำคน ใดๆ ครั้นถึงยุคน้องเลิฟเป็นนอมินีในการใช้อำนาจ เสี่ยเหลี่ยมก็ขยันเด้งผ่านน้องอย่างเพลิดเพลิน จนผู้กลัวถูกเด้งทั้งหลายต้องบินไปหมอบราบกราบเต็มต่อหน้าเสี่ยเหลี่ยมที่ ฮ่องกงนับครั้งไม่ถ้วน

แต่ก็มีนักการเมืองหลายรายที่เสี่ยเหลี่ยมสั่งเด้งไม่ได้เพราะนอมินีของเสี่ยเกิดแข็งข้อขึ้นมา “ไม่ยอมให้เด้ง”

กมลศักดิ์ ตั้งธรรมนิยม


อดีต ปธ.มรดกโลกชี้ไทยเสียอธิปไตยเขาพระวิหาร

จากเวปไซต์ FINE ART THE FACULTY OF FINE ART UNIVERSITY OF CHIANGMAI

เรียบเรียง สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ (ผู้นำเสนอ) | ลำดับที่ 51006


อดุลย์ วิเชียรเจริญ"เผยรับรองมรดกโลกเขาพระวิหารไทยเสียประโยชน์เสียอธิปไตย เท่ากับยกแผ่นดินให้กัมพูชาครั้งแรก เชื่อมีผลประโยชน์แลกเปลี่ยน ระบุถูกปลดก่อน 'นพดล' ลงนามรับรอง

ศาสตราจารย์ ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ

กรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลก กล่าวว่ารัฐบาลไทยลงนามสนับสนุนให้กัมพูชา เสนอเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ถือเป็นการเสียดินแดนครั้งแรก และประเทศชาติเสียผลประโยชน์

ที่ ผ่านมาได้มีการหารือกันมาตลอดระหว่างคณะกรรมการมรดกโลก และกรมอนุสนธิสัญญา กรมเอเชีย ของกระทรวงต่างประเทศ กรณีที่ กัมพูชาจะขอเสนอ ปราสาทเขาพระวิหารเป็นพื้นที่มรดกโลก ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่ง คณะกรรมการมรดกโลกเสนอไปว่า ควรจะต้องเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกันระหว่างไทยและกัมพูชา เพราะไม่อย่างนั้นประเทศไทยจะเสียดินแดนและอธิปไตย และได้ยึดถือตามแนวทางข้อตกลงร่วมกันมาตลอดตั้งแต่ปี 2548

ดร.อดุลย์ กล่าวอีกว่าไทยไม่สามารถจะสนับสนุนให้ประเทศกัมพูชา เสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพียงประเทศเดียวอย่างที่รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ไปลงนามนั้นไม่ได้ เพราะการขึ้นทะเบียนตัวเขาพระวิหารนั้น ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท แต่จะต้องมีการประกาศเขตพื้นที่อนุรักษ์รอบตัวโบราณสถาน ซึ่งการออกประกาศก่อสร้าง ในเขตอนุรักษ์พื้นที่ทำในเขตไทยเพราะฉะนั้น ถือเป็นการรุกล้ำดินแดนไทย เนื่องจากคำตัดสินของศาลโลกที่ยึดถือกันมาตลอดคือ ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นของกัมพูชา แต่แผ่นดินเป็นของประเทศไทย ทำให้ที่ผ่านมาไม่เคยมีรัฐบาล ชุดไหนไปลงนามเซ็นสัญญาลักษณะนี้ โดยจะเจรจา ตามแนวทางการเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกันเท่านั้น

นอกจากนี้ การขึ้นทะเบียนปราทาทเขาพระวิหารไม่ได้ขึ้นทะเบียนเพียงตัวปราสาท หากรวมถึงโบราณสถานอื่นๆ ที่อยู่ในดินแดนไทย เพราะลักษณะโบราณสถานที่เรียกว่า ปราสาทเมืองต่ำที่บูชาพระศิวะนั้นจะต้องมีบาลายที่เป็นทะเลสาป ก่อนที่จะเข้าสู่ตัวพระวิหาร เช่นเดียวกับปราสาทเขาพนมรุ้งที่จะมี แอ่งน้ำบารายสี่เหลี่ยมผืนก่อนที่จะเข้าสู่ตัวปราสาท และปราสาทเขาพระวิหารไม่มีตัว"บาราย" จึงได้มีการสำรวจบริเวณรอบๆแล้วพบตัว "บาราย"ฝั่งทิศเหนือจากบันไดปราสาท ในเขตดินแดนของประเทศไทย แต่ถูกกิ่งไม้ทับถมจึงหาไม่พบซึ่งหลังจากค้นพบ ทำให้คณะกรรมการมรดกโลกยืนยันว่า การเสนอขึ้นทะเบียนเขามรดกโลกต้องเสนอร่วมกันเท่านั้น

"เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศ โดย นายวีระชัย พลาศรัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายคนเก่าได้เดินทางมาหารือกับผมอีกครั้งขณะที่ผม ยังอยู่ที่โรงพยาบาล ในเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเขาพระวิหาร แต่ก็ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ยึดแนวทางตามข้อตกลงในปี 2548 โดย ให้เสนอร่วมกันระหว่างประเทศ เพราะหากเราไปสนับสนุนให้ กัมพูชาขึ้นทะเบียนเราจะเสียอธิปไตยเพราะแผนการจัดการพื้นที่จะตกไปอยู่ที่ กัมพูชา ทันทีซึ่ง ผอ.กรมสนธิสัญญาคนเก่าก็ยึดถือตามนั้น จนอาจจะเป็นสาเหตุของคำสั่งย้าย" นายอดุลย์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม นายอดุลย์ กล่าวว่า หลังจากนั้นไม่ถึงสัปดาห์ ผมก็ทราบว่า ผู้อำนวยการคนนี้ได้ถูกสั่งย้ายซึ่งไม่ทราบว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด และเมื่อสัปดาห์ทีผ่านมา เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศ จาก กรมเอเซีย และกรมสนธิสัญญา ได้มาหารือกับผมอีกครั้ง โดยนำเอาวีดีโอ มาบันทึก ซึ่งผมก็เสนอไปเช่นเดิมว่าไม่เห็นด้วยที่จะลงนาม สนับสนุนกัมพูชา และเห็นว่าควรจะต้องเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกันเท่านั้น "หลังจากที่ เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศมาหารือและผมยืนยันไปตามมติตามแนวทางปี 2548 หลัง จากนั้นผมก็ทราบว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยไปตกลงลงนามเพื่อสนับสนุนให้กัมพูชา ไปเสนอขึ้นทะเบียนมรกดโลกที่ยูเนสโกเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่ประเทศชาติเสียหายมากเพราะอำนาจการบริหาร จัดการทั้งหมดอยู่ที่กัมพูชา"

นายอดุลย์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่เกิดขึ้น การรีบร้อนในการลงนาม เพื่อสนับสนุนกัมพูชาของ นายนพดล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ทั้งๆที่มีเวลาในการพิจารณา ถึง 2 ปี ทำให้ผมมั่นใจว่า ข่าวคราวที่ออกมาว่าการเสนอขึ้นทะเบียนเขาพระวิการกับการแลกเปลี่ยนผล ประโยชน์บางอย่าง น่าจะเป็นจริง อีกทั้ง การให้สัมภาษณ์ของ เตียบันที่ เกาะกง ก็ชัดเจนว่า น่าจะมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เกิดขึ้น

"ครั้งแรกที่ผมได้ข่าวว่ามีการเจรจาแบ่งผลประโยชน์ผมแค่ฟังหูไว้หู ไม่เชื่อว่ามันจะเกิดขึ้น แต่หลังจากที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ของไทยไปลงนาทกับกัมพูชาและเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้ง รีบนำข้อเสนอดังกล่าวต่อ ที่ทำการยูเนสโก้ ทำให้มั่นใจว่า สิ่งที่เคยฟังหูไว้หูในเรื่องผลประโยชน์น่าจะเป็นเรื่องจริง และคงจะมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เกิดขึ้นแล้ว" นายอดุล กล่าว

นายอดุล กล่าวอีกว่า สิ่งที่นายนพดล ดำเนินการจึงเป็นเรื่องที่ประเทศเสียประโยชน์อย่างมาก และการเนินการยังปกปิดข้อมูลการเซนสัญญาร่วมไม่ได้เปิดเผยให้กับสาธารณะชน รับรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถือว่ายอมรับกันได้ยากมาก และน่าจะเป็นเรื่องผลประโยชน์มากกว่า เพราะท่าที่รีบร้อนของ รัฐมนตรีต่างประเทศที่รีบเซ็นลงนามโดยที่ไทยไม่ได้ประโยชน์เลย

ผู้สื่อข่าวถามว่า การเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกกับยูเนสโก ไทยสามารถคัดค้านได้หรือไม่ นายอดุลบอกว่า หลังจากนี้ แล้ว อาจจะเป็นเรื่องยากเนื่องจากรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ไปเซ็นรับรองแผนที่ของกัมพูชา ถือเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลไปแล้ว ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลก อาจจะไม่รับพิจารณา

นอกจากนี้ นายอดุลย์ กล่าวอีกว่า เมื่อ2สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีหนังสือ แต่งตั้งคณะกรรมการมรดกโลกชุดใหม่ เดิมมีชื่อผมเป็นที่ปรึกษา แต่ล่าสุดพบว่า ไม่มี ซึ่งก็ไม่เป็นไรเชื่อว่าคณะกรรมการชุดใหม่ น่าจะสามารถเรียนรู้งานได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการมรดกโลกของไทย ได้ มีคำสั่งการเปลี่ยนแปลงประธานคณะกรรมการมรดกโลกคนใหม่แล้ว จากเดิมที่มีศ. ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ เป็นประธาน มาเป็นนายปองพล อดิเรกสาร อดีต รมว.ศึกษาธิการ พร้อมกับผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการชุดนี้กว่า 10 คน อาทิ ดร.มานิตย์ ศิริวรรณ ออกจากการเป็นกรรมการมรดกโลกในประเทศไทย โดยคณะกรรมการชุดใหม่ ทั้งหมดจะเป็นผู้เดินทางเข้าร่วมการประชุมมรดกโลกที่เมืองคิวเบก ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 2-10 ก.ค. นี้

อย่างไรก็ตามแหล่งข่าว จากคณะกรรมการมรดกโลกประเทศไทยคนหนึ่ง กล่าวว่า การลงนามรับรองแผนที่ของกัมพูชาของ นายนพดล ถือเป็นครั้งแรกในการตกลงยกดินแดนให้กัมพูชาอย่างเป็นทางการ หรือเรียกว่าเป็นการเสียดินแดนครั้งแรก เนื่องจากที่ผ่านมา หลังจากที่ ศาลโลกในปี 2505 ตัดสินให้ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา แต่ดินแดนเป็นของไทยนั้น ได้มี มติครม.สมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ออกมาเพียงเรื่องของเขตแดนในประเทศไทยเท่านั้น ไม่ได้มีข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและกัมพูชาครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรก

"การที่รัฐมนตรีต่างประเทศไปเซ็นรับรองถือเป็นครั้งแรกของการยอมรับกรณีที่ พิพาทที่ดินระหว่างไทยกับกัมพูชาเพราะที่ผ่านมา ไทยไม่เคยยอมรับในเรื่องนี้เลยเพราะศาลโลกตัดสินแล้วว่า ดินแดนเป็นของไทย การที่ตัวอาคารของเขมรมาตั้งในดินแดนไทยก็ไม่มีปัญหา และเรายังมีอำนาจบริหารแผ่นดินของเรา แต่การรัฐมนตรีต่างประเทศไปเซนรับรองแผนที่กัมพูชาเท่ากับยอมรับยกพื้นที่ ให้กัมพูชาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์"

นอกจากนี้แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า อีกประเด็นที่น่าห่วงคือการที่ไทยยอมรับในเรื่องพื้นที่ทับซ้อน 40 ตารางกิโลเมตร ทั้งๆที่เขมรเองไม่เคยอ้างสิทธิ์ดังกล่าว เท่ากับ เป็นการเสียประโยชน์ด้วยเช่นกัน ทำให้น่าจะตั้งข้อสังเกตว่า อาการรีบร้อนและการตกลงแบบนี้ น่าจะมีปัญหาการเมืองเกี่ยวข้องด้วย

"การที่รัฐมนตรีต่างประเทศเซ็นลงนามรับรอง แผนที่กัมพูชาและแผนที่ฉบันนั้นจะถูกส่งไปยัง ยูเนสโก ซึ่งเป็นองค์กระระหว่างประเทศ ถือเป็นการยอมรับยกดินแดนให้กับกัมพูชาครั้งแรก หรือเรียกว่าไทยเสียดินแดนครั้งแรกด้วย"


ขอบคุณภาพจาก เฟซบุ๊ค สายตรงภาคสนาม / สมจิตต์ นวเครือสุนทร / หยุดกระทำการล้มล้างประเทศไทย

   


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต



Tags : เปิดประวัติ วีรชัย พลาศรัย หน.ทีม คดีพระวิหาร

view