สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปัญหาหมอกควันต้องแก้ที่ต้นตอ

จากประชาชาติธุรกิจ

บทบรรณาธิการ

กลายเป็นปัญหาใหญ่และมีดีกรีความรุนแรงที่มากขึ้น สำหรับหมอกควันในภาคเหนือ 9 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ พะเยา และอุตรดิตถ์ ซึ่งปกติปัญหานี้จะเกิดในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายนของทุก ๆ ปี

ปี นี้แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้มีการเตรียมความพร้อมไว้รับมือกับปัญหา ทั้งที่เกิดขึ้น รวมทั้งเข้มงวดกวดขันมากขึ้น ขณะที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไข

ปัญหาไฟป่าและหมอก ควัน ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการป้องกันการจุดไฟเผาในพื้นที่ สำคัญช่วง 80 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 21 มกราคม-10 เมษายนนี้
แต่ถึง วันนี้ดูเหมือนว่ามาตรการดังกล่าวจะยังไม่ได้ผล หลายจังหวัดยังมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (ค่า PM 10) เกินจากค่ามาตรฐาน 120 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะแม่ฮ่องสอนที่ตัวเลขพุ่งไปถึง 428 ไมโครกรัม แพร่ 235 ไมโครกรัม เชียงใหม่ 212 ไมโครกรัม ขณะที่จังหวัดอื่น ๆ ก็ไม่น้อยหน้า ตัวเลขเกิน 200 ไมโครกรัมแทบทั้งสิ้น

มลพิษจากหมอกควันที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต สุขภาพอนามัยของประชาชน การคมนาคมทางบก และการสัญจรทางอากาศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันก็ยังลามไปถึงเรื่องเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่เป็นรายได้สำคัญ และกลายเป็นความสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ทั้งในแง่ของงบประมาณแผ่นดินและความ เสียหายทางธุรกิจ ซึ่งแต่ละปีประเมินกันว่ามีตัวเลขไม่ต่ำกว่า 4-5 พันล้านบาท

เป็นที่รับรู้ของคนในพื้นที่ว่า ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นมีสาเหตุหลักมาจากฝีมือมนุษย์ และไฟป่า แต่ช่วง 2-3 ปี

หลัง ๆ มานี้พบว่ามีการเผาป่าเพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากขึ้นในหลาย ๆ พื้นที่ หลังจากที่มีกลุ่มทุนเข้าไป

ส่งเสริมการปลูกข้าวโพดในรูปของคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง ที่มีการขายเม็ดพันธุ์และรับซื้อผลผลิตในราคาสูง

นอก จากนี้ยังพบว่า มีการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติในพื้นที่หลาย ๆ อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ และหลายจังหวัดในภาคเหนือตอนบน เช่นเดียวกับลาวและพม่าที่ต่างก็เจอปัญหานี้เช่นกัน

สำหรับการแก้ ปัญหาหมอกควัน การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้ทำมาทุก ๆ ปี ยังเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปกับการรณรงค์และปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนใน พื้นที่ได้ตระหนักถึงผลกระทบและความเสียหายของการเผาป่าอย่างเป็นรูปธรรม

ส่วน กลุ่มทุนหรือภาคธุรกิจที่เข้าไปทำคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งก็ควรจะต้องเข้ามามี ส่วนรับผิดชอบสังคมร่วมกันมากขึ้น อย่ามองเฉพาะผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจเพียงอย่างเดียว นอกจากการส่งเสริมการปลูกและรับซื้อแล้ว ก็ควรเข้าไปมีบทบาทในการบริหาร การจัดการ ทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสังคมตามมาในวันข้างหน้า

หากทุกฝ่ายยอมรับความจริง มีความเข้าใจร่วมกัน และแก้ปัญหาให้ตรงจุด หมอกควันที่เป็นปัญหาใหญ่ก็จะบรรเทาและคลี่คลายลงในเร็ววัน


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต



Tags : ปัญหาหมอกควัน แก้ที่ต้นตอ

view