สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ : ปัญหาของทุกคน

จากประชาชาติธุรกิจ

"ขยะอิเล็กทรอนิกส์" เป็นขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ แบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ซึ่งนับวันจะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ อุปกรณ์เครื่องเสียงบ่อยครั้งกว่าที่เคยเป็น จนขณะนี้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกมีมากถึง 20-50 ล้านตัน ซึ่งหากนำขยะทั้งหมดใส่ตู้คอนเทนเนอร์ขบวนรถไฟ จะกลายเป็นขบวนรถไฟที่ยาวเท่าหนึ่งรอบโลกทีเดียว


สำหรับประเทศไทยแหล่งกำเนิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะพบเป็นเศษจากขยะเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสินค้า และผลิตภัณฑ์ที่ผ่านสายการผลิตที่ออกมาแล้วไม่ได้เกณฑ์มาตรฐาน และ 2.บ้านเรือนหรือตามบริษัท ห้างร้านต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นขยะที่เกิดขึ้นจากการใช้งานผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าจน หมดอายุ หรือเครื่องเสียจนไม่สามารถซ่อมให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม ผลการสำรวจของกรมควบคุมมลพิษพบว่า ในปี 2550 ของเสียอันตรายในชุมชนมีปริมาณทั้งสิ้น 400,716 ตัน แบ่งเป็นของเสียอันตรายทั่วไป 131,871 ตัน และขยะอิเล็กทรอนิกส์ 308,845 ตัน หากเทียบกับปี 2555 ประมาณว่าของเสียอันตรายในชุมชนเกิดขึ้นทั้งสิ้น 513,631 ตัน แบ่งเป็นของเสียอันตรายทั่วไปจากชุมชน 153,917 ตัน และขยะอิเล็กทรอนิกส์ 359,714 ตัน คาดว่าในปี 2559 จะมีของเสียอันตรายในชุมชนเกิดขึ้นทั้งสิ้น 573,463 ตัน แบ่งเป็นของเสียอันตรายทั่วไปจากชุมชน 172,076 ตัน และขยะอิเล็กทรอนิกส์ 401,387 ตัน

ปริมาณอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงร้อยละ 12 ต่อปี ซึ่งถือว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นในระดับที่ค่อนข้างสูงมาก

อย่าง ไรก็ตาม จากการที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ออกมาประกาศใช้สัญญาณทีวีดิจิตอล ซึ่งหากประเทศไทยเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีการออกอากาศโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไป สู่ระบบทีวีดิจิตอล จะมีทีวี 20 ล้านเครื่องถูกทิ้ง และกลายเป็นขยะอันตราย ซึ่งความเป็นจริงแล้วการเปลี่ยนถ่ายสู่ระบบดิจิตอลนั้น ประชาชนไม่จำเป็นต้องซื้อโทรทัศน์ใหม่ทั้งหมด เพราะวิธีการรับชมระบบดิจิตอลไม่จำเป็นต้องซื้อทีวีดิจิตอล แต่สามารถใช้ระบบกล่องหรือเสาอากาศ หรือระบบอื่นๆ ที่ต้องมีการพัฒนา ในส่วนกรุงเทพมหานครมีขยะอันตรายที่จัดเก็บถึง 1.40 ตันต่อวัน รวมถึงซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่มีระบบรองรับการจัดการซากผลิตภัณฑ์เป็นการเฉพาะ แต่กรุงเทพมหานครได้สร้างระบบรองรับการแยกทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์จากบ้าน เรือนประชาชน โดยจ้างบริษัทเอกชน คือ บริษัท อัคคีปราการ จำกัด ที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นผู้กำจัดอย่างถูกวิธีเช่นเดียวกับการกำจัดมูลฝอยอันตรายจากชุมชน แต่เนื่องจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล แบตเตอรี่กล้องดิจิตอล โน้ตบุ๊ก และแบตเตอรี่ โน๊ตบุ๊ก มีส่วนประกอบที่เป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าเช่น โลหะมีค่า สามารถนำไปขายเพื่อแยกสกัดโลหะมีค่านำกลับมาใช้ประโยชน์

ประกอบ กับผลการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มครัวเรือนในการจัดการซาก ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อไม่ใช้งานแล้วของกรมควบคุมมลพิษเมื่อปี 2555 ระบุว่า ผู้บริโภคกลุ่มครัวเรือนจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยการขายร้อยละ 51.27 เก็บไว้ร้อยละ 25.32 ทิ้งรวมกับขยะทั่วไปร้อยละ 15.60 และให้ผู้อื่นร้อยละ 7.84 จึงอาจเป็นสาเหตุให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่เข้าสู่ระบบการจัดการของกรุงเทพมหา นครเท่าที่ควร

ดังนั้น กรุงเทพมหานครเพียงหน่วยงานเดียวย่อมไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จ องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมบูรณาการทั้งในส่วนนโยบายและในการนำ นโยบายไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด ที่สำคัญประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ด้วยการคัดแยกขยะเหล่านี้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงการมีจิตสำนึกในการใช้งานเทคโนโลยีอย่างคุ้มค่าที่สุด

 

 

ที่มานสพ.มติชน


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปัญหาของทุกคน

view