สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชำแหละบริหารน้ำ3.5แสนล้าน รีบเร่ง-ไร้แผน

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

อดีตอธิบดีกรมชลประทาน-นักวิชาการ สับเละแผนบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท รีบเร่ง-ไร้แผน-ข้ามขั้นตอนประมูล

"Business Talk" กรุงเทพธุรกิจทีวี เจาะลึกโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และป้องกันอุทกภัย 3.5 แสนล้านบาท โดยมีผู้ร่วมรายการประกอบด้วย นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน นายคมสัน มะลิสี รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง และเป็น 1 ใน คณะกรรมการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และนายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มีประเด็นดังนี้

ปราโมทย์ : อยากกล่าวถึงเหตุการณ์ปี 2554 เป็นมหาอุทกภัย พอมาถึงวันนี้ มีขบวนการบริหารจัดการ แก้ปัญหาอุทกภัย ตัวนี้สำคัญ เริ่มต้นจากที่รัฐบาลรวมไปถึงฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง จะใช้มาตรการสู้ อย่างเดียวทำอย่างไรไม่ให้น้ำท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ ผมมองว่ามันก็ถูก ไม่ใช่ไม่ถูก แต่ว่าสู้ไม่สำเร็จ สู้ไม่ได้สมบูรณ์หรอก ตัวนี้สำคัญที่สุด ผลที่สุด แต่งตั้งคณะกรรมการที่จะมาพิจารณายุทธศาสตร์ ( กนย.) ยุทธศาสตร์นี้เกิดขึ้นจาการประชุม ประมาณ 2-3 เดือน ออกมา รัฐบาลเรียกว่าแผนแม่บท ผมบอกว่าไม่ใช่ มัน เป็นแนวคิดของแต่ละแผนที่จะทำแบบนี้ รัฐบาลบอกว่าจะต้องทำตามแผนที่ว่านี้ มีทั้งหมด 8 แผน แผนที่สำคัญที่สุดก็คือ ทำทางระบายน้ำอุทกภัย ฟลัดเวย์ ไม่รู้ว่าจะทำตรงไหน อย่างไร

@ฟลัดเวย์ 1.2 แสนล้านบาท ในโครงการ 3.5 แสนล้าน

ปราโมทย์ : 1.2 แสนล้านบาท การตั้งตัวเงิน ไม่มีข้อมูลสนับสนุนว่าทำไมออกมาเป็นเงิน 3.5 แสนล้านบาท บอกตรงๆ ฟลัดเวย์ก็เช่นเดียวกัน แยกออกมา 1.2 แสนล้านบาท ไม่มีข้อมูลหรอก จะตั้งอย่างไรออกมาแบบนี้ ผมถึงวิพากษ์มาตลอดว่า แนวคิดแผนที่อยากจะทำแบบนี้ ต้องไปศึกษารายละเอียดให้ชัดแจ้งก่อนที่จะออกมาขับเคลื่อนที่จะหาใครก็แล้วแต่ เวลานี้ กลุ่มบริษัทอะไร ก่อนที่ออกมาแบบนี้ ผมมองดูแล้วว่าขั้นตอนที่ 1 หาแนวคิดที่จะทำอย่างไร และหลังจากนั้น ก็กระโจนมาที่จะเป็นแบบนี้

@กระโดดข้ามไปประมูลเลย

ปราโมทย์ : เปิดประมูลเพื่อออกแบบและก่อสร้าง ออกแบบอะไรเวลานี้ก็บอกว่า กลุ่มบริษัทที่เสนอเป็นแนวคิดทั้งนั้น ฟลัดเวย์นั่นเป็นแนวคิด ตั้งแต่นครสวรรค์ลงมา เป็นแนวคิดทั้งนั้น ทุกกลุ่มเป็นแนวคิด แล้วจะออกมาเป็นออกแบบ เป็นก่อสร้าง เป็นค่าใช้จ่าย เป็นเงินได้อย่างไร มีการประกวดได้อย่างไร รัฐบาลทำและเราก็รับรู้รับทราบมาตลอด การทำผมมีความเห็นว่าเราจะหลงทางกัน เดี๋ยวจะติดอย่างนู้นอย่างนี้ เดี๋ยวเราต้องติดอีกหลายเรื่อง

@แผนมีปัญหาอย่างไร

ปราโมทย์ : มีปัญหาสิครับ เพราะแผน 8 แผนที่รัฐบาลประกาศไว้ในแผนแม่บท แล้วก็อีกสองสัปดาห์ต่อมาก็ออกมาเป็นสตางค์ 3.5 แสนล้านบาท มันเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้ เพราะเป็นแนวคิดเบื้องต้น เอาฟลัดเวย์อย่างเดียว ไม่ระบุว่าทำตั้งแต่นครสวรรค์ไปลงอ่าว ไทย 300 กว่ากม. ในเง่ผมเป็นช่างทำงาน ดูแล้วนี่มันเป็นเรื่องของชาตินะ และครม.อนุมัติ 3.5 แสนล้านบาท พออนุมัติเสร็จปุ๊บ ก็ไปออกพ.ร.ก.บอกว่าด่วน แต่ด่วนอะไร ตั้งปีหนึ่งยังเอาออกมาไม่ได้เลย เวลานี้ของ 10 โมดูล หรือ 10 แผนงานหลักของเขามันอยู่ในระยะเบื้องต้น แบบก็ยังไม่มี

@ต้องไปทำแผนแม่บทก่อนหรือ

ปราโมทย์ : แผนแม่บทก่อนคือศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่มันเกี่ยวข้องให้รอบด้านทุกประเด็น อีก 2 ปีก็ไม่เสร็จ เพราะมันหลายเรื่องเหลือเกิน ได้เรื่องใหญ่คือฟลัดเวย์ มันต้องเปรียบเทียบฟลัดเวย์เนี่ยแบบ ไหนดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด กระทบกับผู้คน จาระไนมาเลย ลงพื้นที่ครับ ไม่ใช่มาวาดภาพอยู่บนโต๊ะ หรือแผนที่มากางไม่ใช่ มีปัญหา เวลานี้ผู้คนได้รับผลกระทบแน่เขาไม่รู้ อยู่ๆจะมาลากจอบลากเสียมเอาที่ของผม

@เนี่ยคืออะไร บ้านเรือนไหนกี่หลัง เดี๋ยวต้องจ่ายสตางค์เขาเท่าไรไม่รู้ 15 ปี ก็ไม่เสร็จ จะซ้ำรอยโฮปเวลล์ ไหม

คมสัน : เรามีการพูดคุยกันในกลุ่มวิศวกร ทางด้านวิศวกรรมสถาน เรามีความหลากหลายในกลุ่มที่มาคุย ทั้งทางด้านวิศวกรรมแหล่งน้ำ ทั้งด้านปฐพี และทางด้านทั่วไป ทางด้านโยธา ประเด็นขณะนี้ รัฐบาลได้เดินมาถึงจุดคัดเลือกบริษัท 6 กลุ่มบริษัท 10 แผนงาน ปัญหาคือ 10 แผนงาน มีที่มาที่ไปอย่างไร มาจากไหน และมาได้อย่างไร และมีข้อมูลแจ้งว่าเบื้องต้นเลยว่าแผนทั้งหมดมาจากกนย.จริงๆ ซึ่งได้รวบรวมที่เคยศึกษามาแล้วในเบื้องต้น แต่แผนการต่างๆ เหล่านี้ไม่สามารถนำไปใช้ได้เลย ต้องมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ แต่ปัจจุบันแผนเบื้องต้นคร่าวๆ ถูกนำมาใช้เป็นแผนแม่บท ซึ่งทางกลุ่มวิศวกร วิศวกรรมสถาน ทางกลุ่มวิชาการอื่นๆบอกว่า แผนนี้ไม่ใช่แผนแม่บท เพราะว่าถือว่าเป็นแผนแม่บทแล้ว ถ้าเริ่มต้นเรามาผิดทางแล้ว

"เขาใช้แผนเบื้องต้นมาเป็นแผนแม่บทเลย จริงๆแล้ว ไม่ว่าบริษัทไหนมาประมูล ก็จะยึดเกณฑ์ตามนี้แหละ เขาไม่สามารถมาคิดอะไรใหม่ได้เลย เป็นไปไม่ได้หรอกที่บริษัทต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติแล้ว เข้ามาจะรู้รายละเอียดของประเทศไทย มันเป็นไปไม่ได้"

@มีการส่งทีมมาศึกษา จีนก็มี เกาหลีก็มี

คมสัน : ตอนนี้ก็ส่งทีมวิศวกร เกาหลีก็เข้ามา เพื่อมาศึกษาข้อมูล แต่การศึกษา กลมชลฯ ส่วนราชการเขารู้ดีว่า เขาศึกษามาเกือบทั้งชีวิต ข้อมูลความรู้ต่างๆอยู่กับกลุ่มนักวิชาการของคนไทย ไม่มีทางที่ต่างชาติเข้ามาแล้วศึกษา แล้วจะรู้ดีกว่า โจทย์ตรงนี้ต้องมองย้อนไปนิดหนึ่งว่าถ้ารัฐบาลตั้งโจทย์ว่า คนไทยไม่มีความสามารถ เลยเอาบริษัทต่างชาติมาเดินในเรื่องของการสำรวจ ถามว่าเขาเดินถูกทางไหม เดินผิดทาง การแก้ปัญหาต่างๆ เดี๋ยวต้องเจอ ปัญหามวลชนอีก ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่

@ไม่มีแผนแม่บท แต่ว่ามาเรียกเป็นแผนแม่บท ผิดพลาดหรือเปล่า

คมสัน : ขั้นตอนในเรื่องต่างๆ เป็นการ short cut หมดเลย

@ที่เร่งเพราะกฎหมายกู้เงินครั้งนี้จะหมดอายุ ฟังขึ้นไหม

คมสัน : มันเลยเป็นเหตุให้ทุกอย่างต้องเร่ง แล้วจะเอาอะไรมาการันตีเรื่องของความรอบคอบ และความคุ้มค่า ของเม็ดเงินที่จะต้องลง มันยังมีปัญหาที่สำคัญๆ ก็คือว่า เรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องของอีไอเอ
มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ดูแล้วมีการข้ามขั้นตอน หรือเปล่า

ศศิน : เรื่องนี้ผมเพิ่งทราบเมื่อต้นปีเลย 8 ม.ค. เขามีการชงจากสำนักนโยบายสิ่งแวดล้อม ให้กรรมการนโยบายสิ่งแวดล้อม มีมติเปลี่ยน ย้าย ยุบ โครงสร้างของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผมเล่าสั้นๆ นิดเดียวว่า เวลาที่เราจะทำโครงการอะไรที่มันมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม มันมีประกาศมาว่าคุณต้องทำรายงานอีไอเอ ทำรายงานปุ๊บต้องให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการชุดหนึ่ง ซึ่งทางสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นคนจัดการ ดำเนินการ ส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการอิสระ ผมก็เคยเป็นอยู่หลายปี โครงการต่างๆ ถ้ามันมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมที่จะมาติดที่ตัวนี้ จนกว่าเขาจะหามาตรการมาลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ บางโครงการถ้าไม่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็ผ่านไปเลย อย่างสร้างเขื่อน คุณต้องไปดูเรื่องของสัตว์ป่า

@กี่เขื่อนแล้ว

ศศิน : 8 เขื่อน มีขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และมีขนาดย่อยๆ อีก แต่ใหญ่ๆ ก็มีแม่วงก์ กับ แก่งเสือเต้น ก็ติดในเรื่องสิ่งแวดล้อมมายาวนาน ผมเกี่ยวข้องโดยตรงกับแม่วงก์ ผมไม่ยอมให้สร้างหรอก ผมก็ต้องส่งไปให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการ ไม่ว่าจะทั้งข่าว ทั้งเอกสาร ผมก็ทำอยู่ คราวนี้อยู่ดีๆ พอต้นปีประชุมไปทีแล้ว แม่วงก์ติดอยู่ 20 ข้อ คณะกรรมการที่ผมบอกคชก. ตีกลับไป 20 ข้อ ก็ต้องศึกษาเรื่องเสือใหม่ เรื่องเดียวเป็นปี เพราะต้องไปดูว่าเสืออยู่ที่ไหน เขาศึกษาจนรู้ทั้งวงการว่าเสือมันเยอะ ปรากฏว่าพอประชุมไปรอบแรกเมื่อปลายปี พอ ม.ค. เขายุบเลย 1. เขาเปลี่ยนตัวประธานเขาเอาข้าราชการประจำ ตัวเลขาธิการสผ.เองมานั่ง และไม่ได้นั่งชุดเดียวนะ

เมื่อก่อนเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากข้างนอก เป็นกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ก็คือกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีคุณปลอดประสพ นั่งดูอยู่ รับมอบจากนายกฯมาดู และมีรัฐมนตรีนั่งเป็นบอร์ดอยู่ แต่ต้องมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าไปทำงานเต็มเวลา เรื่องแหล่งน้ำเราจะได้ผู้ทรงคุณวุฒิชุดนี้มาเป็นประธาน กลั่นกรองให้ออกมาดีที่สุด ที่ผ่านมา มี อ.ปริญญา นุตาลัย อ.อมรา พงษาพิชญ์ อ.ธงชัย ไชยสวัสดิ์ เราก็ยอมรับในชื่อเสียงมาตลอด เพราะว่าตัวนี้อีไอเอคืออุปสรรค ไม่ใช่เขื่อนอย่างเดียว อย่างคุณจะระบายน้ำ มันต้องเข้าสู่ชลประทานที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ต้องทำอีไอเอ หรือ จะไปสร้างอ่างเก็บน้ำ อ่างเก็บน้ำเล็กๆน้อยๆ ถ้ามันไปอยู่ที่ลุ่มน้ำชั้น 1B มันก็ต้องทำอีไอเอ ถ้า 1A ทำไม่ได้ ต้อง 1B คุณต้องทำอีไอเอ เพราะฉะนั้นตัวคชก.เป็นตัวอุปสรรค แล้วยิ่งพระราชกำหนดเป็นตัวบอกว่าใช้เงินถึง 30 มิ.ย. อีไอเอจะมาขวาง

@มีแนวโน้มเอาข้าราชการประจำมานั่ง

ศศิน : ผมไม่ได้ดูถูกศักดิ์ศรีข้าราชการประจำ มันทานการเมืองไม่ได้หรอก ข้าราชการประจำเขาก็มีหน้าที่ทำ ตามนโยบายรัฐบาล ถ้าคนนี้ไม่ทำ เขาก็เอาอีกคนเข้ามา เพราะเขามีอำนาจบริหารอยู่ เขาทำแล้วด้วย


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : ชำแหละ บริหารน้ำ 3.5แสนล้าน รีบเร่ง ไร้แผน

view