จาก โพสต์ทูเดย์
ถึงแม้ว่านมจะไม่ใช่อาหารที่คนไทยนิยมรับประทานมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ หากแต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดย...ทีมงานโลก 360 องศา
ถึงแม้ว่านมจะไม่ใช่อาหารที่คนไทยนิยมรับประทานมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ หากแต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงเล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ของนมที่มีต่อสุขภาวะราษฎรชาวไทย ทำให้เป็นที่มาของความสนพระทัยต่อกิจการโคนมในประเทศเดนมาร์ก เมื่อครั้งเสด็จประพาสประเทศเดนมาร์กในปีพุทธศักราช 2503 ซึ่งในเหตุการณ์ครานั้น นำมาสู่จุดเริ่มต้นขององค์ความรู้ด้านการเลี้ยงโคนมที่ถูกส่งต่อและถ่ายทอด มายังโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ฟาร์มสาธิตและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทยเดนมาร์ค (ปัจจุบันคือ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ค.) และสหกรณ์โคนมหนองโพ ราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์)
ในปัจจุบันอาชีพเลี้ยงโคนมคืออาชีพที่สร้างรายได้ให้กับผู้คนไม่เพียงแค่ ในทวีปยุโรปเท่านั้น หากแต่ว่าในทวีปเอเชีย อย่างเช่นประเทศจีนและอินเดีย ก็สามารถผลิตน้ำนมดิบได้สูงถึง 40-50 ล้านตันต่อปี ส่วนประเทศที่ครองอันดับหนึ่งในการผลิตน้ำนมดิบคือประเทศสหรัฐอเมริกา ผลิตได้ถึง 80 ล้านตันต่อปี สำหรับประเทศไทยของเรานั้นแม้จะเป็นเพียงประเทศเล็กๆ แต่ก็สามารถผลิตน้ำนมดิบได้ถึง 1 ล้านตันต่อปี
เมื่อพูดถึงประเทศเดนมาร์ก หนึ่งในต้นตำรับการเลี้ยงโคนม ในวลานี้กิจการโคนมมีความก้าวหน้าจนไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานส่งเสริมการ เลี้ยงโคนมอีกแล้ว ซึ่งในปัจจุบันมีเพียงศูนย์วิจัยและพัฒนาเท่านั้นที่มุ่งเน้นการนำเอา เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณภาพ ดังเช่นศูนย์วิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยออฮุส (Aarhus) ที่นั่นเราได้มีโอกาสสัมภาษณ์ศาสตราจารย์ Mogen ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการคัดเลือกและพัฒนาพันธุกรรมโคนม ซึ่งเล่าให้เราฟังว่าที่นี่มุ่งเน้นการพัฒนาและคัดเลือกพันธุกรรม ผ่านการวิจัยน้ำเชื้อพ่อพันธุ์โคนม เพื่อเสาะหาน้ำเชื้อที่มีคุณภาพสูงในการนำไปผสมเทียมต่อไป โดยกระบวนการนี้จะกระทำอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ได้โคนมที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ นอกจากนั้นที่นี่ยังได้มีการวิจัยอาหารสำหรับโคนม ด้วยการเจาะหน้าท้องโคนมเพื่อให้สามารถนำเอาอาหารออกมาวิเคราะห์ วิธีการนี้ศาสตราจารย์ Klaus Lonne อธิบายว่าโคนมจะไม่รู้สึกเจ็บปวดจากการถูกเจาะหน้าท้อง ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัยสามารถนำเอาอาหารที่อยู่ในกระเพาะไปจนถึงลำไส้ใหญ่ ออกมาวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาอาหารที่เหมาะสมกับโคนมต่อไป มากไปกว่านั้นที่นี่ยังมีส่วนในการพัฒนาเทคโนโลยีการรีดนมโคแบบอัตโนมัติ ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Milking Robot ซึ่งคุณเจค็อปเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่ได้นำเอาอุปกรณ์ชนิดนี้ไปติดตั้งใน ฟาร์มบอกกับเราว่า ฟาร์มของเขามีโคนมกว่า 200 ตัว ทุกตัวจะติดปลอกคอที่ภายในบรรจุไมโครชิประบุข้อมูลของวัวแต่ละตัว ซึ่งเครื่อง Milking Robot จะทำงานด้วยการหลอกล่อโคด้วยอาหารผสมเพื่อให้เดินเข้าสู่คอกกั้น เมื่อโคเข้าสู่คอกกั้นแล้ว แขนกลที่ติดตั้งอุปกรณ์รีดนมจะทำหน้าที่สแกนหาเต้านมด้วยแสงเลเซอร์เพื่อรีด นม เมื่อรีดเสร็จแล้วแขนกลก็จะฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อล้างเต้านมโดยอัตโนมัติ จากนั้นวัวก็จะถูกปล่อยสู่คอกที่แบ่งกันระหว่างโคที่ยังไม่ถูกรีดนม ด้วยเหตุนี้คุณเจค็อปจึงใช้เวลาในการทำงานเฉลี่ยเพียง 1-2 ชั่วโมงต่อวันในการให้อาหารวัวและต้อนวัวบางส่วนที่ไม่ยอมเข้าเครื่อง Milking Robot อย่างไรก็ตาม คุณเจค็อปทิ้งท้ายกับเราว่า เครื่องนี้ช่วยลดภาระให้เขาก็จริงอยู่ หากแต่ว่าก็ต้องแลกมาด้วยราคาค่าตัวที่สูงไม่ใช่น้อย
ถึงแม้ว่ากิจการโคนมในประเทศจะไม่ได้มีเทคโนโลยีล้ำสมัยเฉกเช่นในประเทศ เดนมาร์ก หากแต่องค์ความรู้ที่เราได้รับถ่ายทอดมาจากประเทศเดนมาร์ก ก็ได้ถูกบ่มเพาะและต่อยอดดังเช่นที่โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ซึ่งในโอกาสนี้เราได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ดร.รสริน สมิตะพินทุ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ซึ่ง ดร.รสริน กล่าวว่า การเลี้ยงโคนมที่นี่มีจุดเริ่มต้นจากการเสด็จประพาสประเทศเดนมาร์กในปีพุทธ ศักราช 2503 ซึ่งพระองค์ให้ความสนใจในกิจการโคนมของประเทศเดนมาร์กเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ภายหลังการเสด็จนิวัตประเทศไทยได้เพียง 2 ปี พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อดำเนินการจัดสร้างโรงโคนม ภายในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาและค้นคว้า ตลอดจนเผยแพร่องค์ความรู้ในการเลี้ยงโคนมให้แก่ราษฎรที่สนใจ นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังมีพระประสงค์ให้ที่นี่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการ รับซื้อน้ำนมดิบ เพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นมรูปแบบต่างๆ อันจะก่อให้เกิดการกระจายรายได้แก่ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโคนม
ผลจากการได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ และถวายฎีการ้องเรียนปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาดแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ของกลุ่มเกษตรกรโคนมหนองโพ จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นที่มาของการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อจัดสร้างโรงนมผงให้แก่กลุ่มเกษตรกรโคนมหนองโพ อันจะเป็นการแก้ปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด โดยมีโรงนมผง สวนจิตรลดาเป็นต้นแบบ นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังมีพระกระแสรับสั่งให้กลุ่มเกษตรกรโคนมหนองโพรวม กลุ่มจัดตั้งเป็นสหกรณ์และดำเนินงานในรูปแบบของบริษัทจำกัด มากไปกว่านั้นพระองค์ยังรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นสะท้อนถึงพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ในการเสริมสร้างกิจการโคนมของประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าและแข็งแกร่งสืบต่อ ไป
ในขณะเดียวกันนั้นองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2503 ยังมีส่วนสำคัญในการน้อมนำพระราชดำริเกี่ยวกับกิจการโคนมในประเทศไทย ซึ่งคุณนพดล ตันวิเชียร รองผู้อำนวยการทำการแทนผู้อำนวยการ อ.ส.ค. กล่าวว่า อ.ส.ค.ไม่ได้มุ่งหวังเพียงแค่การสร้างมูลค่าทางการตลาดให้เกิดขึ้นกับ ผลิตภัณฑ์นมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในขณะเดียวกันก็ได้มีความพยายามที่จะทำให้อาชีพเกษตรกรโคนมมีความมั่นคงใน อาชีพควบคู่กันไปอีกด้วย เมื่อเกษตรกรมีความมั่นคง ผลิตภัณฑ์นมก็ย่อมมีคุณภาพและสมราคา จึงเกิดเป็นการพัฒนาที่มีคุณค่าอย่างยั่งยืนต่อประเทศชาติ
คุณทัศนัย รักษาสิริพงศ์ ผู้จัดการชัยพฤกษ์ฟาร์ม เป็นหนึ่งในเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่ได้รับการฝึกอบรมจาก อ.ส.ค. กล่าวว่า ประกอบอาชีพนี้มากว่า 10 ปี ยืนยันได้ว่าอาชีพเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงในระยะยาว เพราะโคนมจะให้น้ำนมได้ก็ต่อเมื่อมีการตกลูก ดังนั้นจึงเป็นการเพิ่มปริมาณโคนม อันจะส่งผลให้เกิดรายได้ที่เพิ่มพูนโดยปริยาย ด้วยเหตุนี้จากจุดเริ่มต้นด้วยโคนมเพียงไม่กี่ตัว ทำให้ทุกวันนี้คุณทัศนัยมีโคนมกว่าร้อยตัว ซึ่งสามารถผลิตน้ำนมดิบได้หลายร้อยลิตรต่อวัน และมีรายได้ที่สามารถหล่อเลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดี
อาจารย์สุพจน์ นิเวศ คือ หนึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโคเนื้อและโคนมของเมืองไทยบอกกับเราว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็ง เห็นถึงความสำคัญของอาชีพเลี้ยงโคนม ซึ่งอาชีพนี้ถือเป็นอาชีพที่สามารถเพาะบ่มความมีระเบียบวินัยได้เป็นอย่างดี เพราะผู้เลี้ยงจะต้องมีใจรัก มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา และอดทนต่อการไม่มีวันหยุดพัก อันเนื่องมาจากโคนมจะให้น้ำนมทุกวัน ซึ่งจะต้องรีดเฉพาะช่วงเช้าและช่วงเย็นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้สังคมที่มีการเลี้ยงโคนมมาก จะเป็นสังคมที่มีระเบียบวินัย มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและมีรายได้เข้าสู่ครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ และนั่นเองจึงเป็นที่มาของพระราชวิสัยทัศน์อันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ที่พระราชทานอาชีพการเลี้ยงโคนมมาสู่ปวงชนชาวไทย
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต