สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

บทเรียนหลังพิบัติภัย ทำดีไม่ต้องรอวิกฤต

จากประชาชาติธุรกิจ

ในวิกฤตครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ อย่าง น้ำท่วม สึนามิ หรือวิฤตทางเศรษฐกิจการเมือง ล้วนส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั้งสิ้น แต่เมื่อผ่านเหตุการณ์ที่เลวร้ายมาได้ ฝันร้ายกลับกลายเป็นบทเรียนที่ธุรกิจได้เรียนรู้ เพื่อตั้งรับและลดความเสี่ยงหากต้องเผชิญกับวิกฤตที่ไม่คาดคิดในวันข้างหน้า

ส่วน ในมุมธุรกิจได้พร้อมรับความเสี่ยงไว้อย่างแข็งแรงแล้ว อีกด้านหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจอยู่อย่างยั่งยืนได้ ยังต้องมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ของบริษัทอย่างพนักงาน ลูกค้า และสังคม สิ่งแวดล้อม ที่ธุรกิจต้องคำนึงถึงและสร้างเกราะป้องกันวิกฤตด้วยเช่นกัน

เมื่อ ปลายเดือนที่ผ่านมา มี 2 บริษัทข้ามชาติที่ทำธุรกิจในเมืองไทยมายาวนาน อย่าง บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทยฯ ที่มีอายุครบ 80 ปี และ กลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย ที่อยู่ในเมืองไทยมาเกือบ


30 ปี ต่างประกาศตัวในโครงการซีเอสอาร์ที่มีจุดร่วมในเรื่องเดียวกันคือการช่วย เหลือสังคมอย่างยั่งยืน ในเรื่องภัยพิบัติ และพร้อมให้การดูแลสังคมด้านอื่น ๆ โดยไม่ต้องรอให้เกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้าขึ้นก่อน ให้ส่งดี ๆ โดยไม่ต้องรอวิกฤต

การช่วยเหลือที่ยั่งยืนในมุมมองของยูนิลีเวอร์ เกิดจากแนวคิดที่ยูนิลีเวอร์เปรียบประเทศไทยเหมือนบ้านหลังหนึ่ง และต้องการให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ตามคุณค่าหลักในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่สร้างความสุขให้แก่ทุกครอบครัว

แล้ว ในโอกาสครบรอบ 80 ปีที่ทำธุรกิจในประเทศไทย จึงมีโครงการเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในชื่อ "โครงการบ้านอยู่สุข 80 ปี ยูนิลีเวอร์

The movement เริ่มต้นที่บ้าน..ทำให้เมืองไทย" มูลค่าโครงการรวม 80 ล้านบาท ด้วยเป้าหมายสร้างบ้าน 80 หลังให้แก่ผู้ขาดแคลนทั่วประเทศ โดยไม่จำกัดแต่เพียงความยากจน แต่บุคคลที่สมควรได้รับความสุขนี้จะต้องเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิตให้แก่ ผู้อื่นได้ และขณะนี้ได้คัดเลือกมาแล้ว 8 ครอบครัว

"สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์" รองประธานกรรมการบริหาร ธุรกิจอาหารและไอศกรีม บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ในฐานะแม่งานดูแลโครงการนี้ ยกตัวอย่างผู้ได้รับคัดเลือกให้ได้รับบ้านอยู่สุขให้ฟังว่า ครอบครัวของคุณโสภาจากจังหวัดนครสวรรค์ มีสมาชิกในบ้านประกอบด้วย คุณสุภาที่พิการทางสายตาทำงานเป็นภารโรง และลูกชายในวัยเรียน 2 คน ส่วนสามีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

"ลูกชายคนโตของคุณสุภาเรียนเก่งมาก จึงได้รับทุนให้ไปเรียนในโรงเรียนดังของจังหวัด แต่เขากลับละทิ้งโอกาสนั้นเพราะต้องการอยู่เป็นดวงตาให้กับแม่ ครอบครัวนี้ทำในสิ่งที่เราเชื่อเช่นกันว่า ความสุขเริ่มต้นที่บ้าน เพื่อให้มีพลังออกไปสร้างความสุขให้สังคมโดยไม่ต้องรอให้เกิดวิกฤต"

ขณะ ที่กลุ่มฮอนด้าตอบโจทย์การช่วยเหลืออย่างยั่งยืน ด้วยการจัดตั้ง "กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย" ใต้ร่มการดูแลของมูลนิธิฮอนด้า แปรเปลี่ยนเงินเป็นการช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย ดัดแปลงรถสเตปแวกอน สปาด้า 10 คัน ให้เป็นรถพยาบาล ที่มีความคล่องตัว เพิ่มเติมอุปกรณ์ให้กับรถมอเตอร์ไซค์รุ่น CBR-250R จำนวน 10 คัน ให้เป็นรถพยาบาล เนื่องจากมีสมรรถนะสูง ปราดเปรียว และสามารถเข้าถึงที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว

นำฮอนด้า ซีอาร์วี ใหม่ ที่ถูกติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารเพื่อเป็นรถอำนวยการหากเกิดภัย และเรือไฟเบอร์กลาส 50 ลำ พร้อมเครื่องยนต์ฮอนด้าเพื่อการช่วยเหลือยามฉุกเฉิน และมอบให้หน่วยงานด้านบรรเทาสาธารณภัย พร้อมจัดความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ อย่างถุงยังชีพสำรอง และทำสัญญากับบริษัทผู้ผลิตไว้เพื่อลดการสต๊อกของ เป็นการดำเนินการให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของฮอนด้า ที่ไม่ใช่แค่เพียงต้องการเติบโตไปร่วมกับสังคม แต่ต้องเป็นธุรกิจที่สังคมต้องการและอยากให้อยู่ด้วย

จับมือพันธมิตรเสริมแรง

การ ทำดีจะมีพลังยิ่งขึ้นถ้าได้รับความร่วมมือจากพันธมิตร โครงการดังกล่าวกลุ่มบริษัทฮอนด้าทำความร่วมมือกับกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และสภากาชาดไทย ในการส่งผ่านการช่วยเหลือสู่ประชาชนที่เดือดร้อน

"อรนุช พฤกษ์วัฒนานนท์" ผู้จัดการส่วนงานการตลาด บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เล่าว่า การร่วมมือกับพันธมิตรนอกจากจะทำให้ความช่วยเหลือและการใช้ทรัพยากรมี ประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันในเรื่องที่แต่ละแห่งมีความถนัด ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อต่อยอดการทำงานเพื่อสังคมให้ดียิ่งขึ้นใน อนาคต

"เรามีความถนัดเรื่องเทคโนโลยีรถยนต์ ขณะที่พันธมิตรมีความเชี่ยวชาญเรื่องสาธารณภัย เมื่อได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจะทำให้งานป้องกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้พนักงานอาสาสมัครของฮอนด้ายังได้รับการอบรมเพื่อให้ความช่วยเหลือ เบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย ถือเป็นความสามารถเฉพาะตัวของพนักงานฮอนด้ากลุ่มหนึ่งที่มีความพร้อมออกไป ช่วยเหลือสังคม"

ขณะที่ยูนิลีเวอร์จับมือกับสำนักงานบริหารกิจการ เหล่ากาชาด กระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. รวมถึงบริษัท เอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด เข้ามาเป็นพันธมิตร ตั้งแต่การช่วยคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่จะได้รับบ้านอยู่สุข แล้วหลังจากบ้านสร้างเสร็จในระยะเวลาประมาณ 1 เดือนครึ่ง ทาง สคบ.จะช่วยตรวจสอบและส่งมอบบ้านที่มีมาตรฐานให้แก่ผู้ได้รับเลือก โดยบ้านทั้ง 80 หลังจะส่งมอบทั้งหมดไม่เกินวันที่ 12 ส.ค. 2556

"เรา ทำงานร่วมกับ สคบ.มายาวนานจึงชักชวนมาร่วมเป็นพันธมิตร เพื่อให้มั่นใจว่าบ้านที่เราสร้างให้เป็นบ้านที่มีคุณภาพ โดยงานนี้ได้รับความร่วมมือจากเอสซีจี ตราช้าง ช่วยออกแบบบ้านและสนับสนุนวัสดุก่อสร้าง รวมถึงควบคุมการก่อสร้างให้เสร็จทันเวลา จึงเป็นการรวมพลังเล็ก ๆ ที่กลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่" สุพัตรากล่าว

ปลุกสังคม ชวนทำจิตอาสา

จุด ร่วมอีกด้านคือ ทั้งโครงการของฮอนด้าและยูนิลีเวอร์ต่างต้องการสร้างการมีส่วนร่วมของคนใน สังคม ที่ผ่านมา อาจเคยเห็นการตลาดเพื่อสังคมของสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน อย่างน้ำแร่ เครื่องสำอาง ฯลฯ ที่บอกลูกค้าว่า หากซื้อผลิตภัณฑ์จะแบ่งกำไรส่วนหนึ่งสมทบทุนช่วยเหลือสังคม

สำหรับ ฮอนด้า ที่มาของเงินในกองทุนเคียงข้างไทยทำในลักษณะเดียวกันคือ แบ่งเงินจากการขายผลิตภัณฑ์มาร่วมดูแลสังคม โดยแบ่งจากรายได้การขายรถยนต์คันละ 1,000 บาท และรถมอเตอร์ไซค์ 100 บาท และมอเตอร์อเนกประสงค์ 10 บาท ต่อการขาย 1 หน่วย โดยกองทุนนี้เริ่มสะสมเงินเข้ากองทุนตั้งแต่วันแรกที่ฮอนด้าเริ่มกลับมาเดิน สายการผลิตอีกครั้งในเดือนเมษายน 2555 ขณะนี้มีเงินทั้งสิ้น 183 ล้านบาท โดยกำหนดเพดานกองทุนไว้ที่ 1 พันล้านบาท พร้อมชักชวนพนักงานในเครือฮอนด้าเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเมื่อสังคมต้องการ ความช่วยเหลือ

ส่วนนัยของคำว่า The Movement ในชื่อโครงการของยูนิลีเวอร์ เป็นส่วนต่อเติมของการเคลื่อนความสุข และการให้จากจุดเล็ก ๆ ในบ้านให้แผ่ขยายไปยังสังคม จนเกิดเป็นโครงการ "หนึ่งล้านการให้...ทำเพื่อเมืองไทย" ชักชวนคนในสังคมเข้าร่วมใน 8 กิจกรรมจิตอาสา คือ 1)ให้กอด สื่อถึงการร่วมทำเครื่องกันหนาวให้ผู้ยากไร้

2)ให้อิ่ม แบ่งปันอาหารให้ผู้ขาดแคลน

3) ให้เด่ะ ปลูกฝังพฤติกรรมดูแลสิ่งแวดล้อม 4) ให้ใจ ทำกิจกรรมเพื่อให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย พร้อมร่วมบริจาคโลหิต 5) ให้แรง ร่วมแพ็กถุงมอบให้กับ 80 ชุมชนทั่วประเทศ 6) ให้โอกาส ชวนอาสาสมัครอ่านหนังสือเสียง 7) ให้สุข ด้วยการมอบรอบยิ้มผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก และ 8) ให้ป่ะ ชวนคนไทยฟังธรรมะและร่วมให้อภัย ทั้ง 8 กิจกรรมเป็นการปลุกจิตสำนึกคนไทยให้มีส่วนในการดูแลสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ตามกำลังความสามารถที่มี ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 16 ธ.ค. 2555 ที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง เพื่อรวมพลังจิตอาสาขนาดใหญ่มีตั้งเป้าหมายคนร่วมงานไว้ที่ 1 หมื่นคน แล้วหลังจากจบงานมีแผนจะทำให้เกิดกิจกรรมต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าน่าจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน

การประกาศ ตัวร่วมดูแลสังคมไทย แม้ยังไม่ต้องรอให้เกิดวิกฤตจาก 2 บริษัทข้ามชาติ พร้อมการผนึกกำลังของผู้บริหารระดับสูงและผู้นำองค์กรพันธมิตรเข้าร่วมงาน คับคั่ง จึงเป็นเสมือนพันธสัญญาในการแสดงความเอาจริงเอาจัง

หากเกิด วิกฤตในวันข้างหน้า การประกาศตัวอย่างชัดเจนนี้จะเป็นสัญญาณให้มั่นใจว่า ธุรกิจเหล่านี้จะไม่ทิ้งคนไทยและเมืองไทยง่าย ๆ ด้วยเช่นกัน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : บทเรียนหลังพิบัติภัย ทำดี ไม่ต้องรอวิกฤต

view