สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นักวิชาการชี้โครงการรับจำนำข้าวส่งผลเสียระยะยาว แนะปรับเกณฑ์ให้เหมาะสม

นักวิชาการชี้โครงการรับจำนำข้าวส่งผลเสียระยะยาว แนะปรับเกณฑ์ให้เหมาะสม

จากประชาชาติธุรกิจ

ผู้ อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชี้โครงการรับจำนำข้าวไม่เป็นผลดีในระยะยาว เพราะทำให้รัฐต้องแบกรับภาระสต๊อกข้าวในจำนวนที่มากเกินไปจนไม่สามารถระบาย ออกได้หมด จึงควรปรับเปลี่ยนเงื่อนไขด้วยการจำกัดปริมาณรับจำนำ และเน้นช่วยเหลือชาวนารายย่อยมากกว่ารายใหญ่ พร้อมแนะจัดสรรงบประมาณราว 100 ล้านบาทมาศึกษาวิจัยผลจากโครงการดังกล่าวว่าช่วยให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ดี ขึ้นและปลดหนี้ได้จริงหรือไม่

"ใน ทางวิชาการเชื่อว่าในระยะยาวรัฐบาลจะมีปัญหาจากการที่รัฐบาลแบกสต๊อก ข้าวในปริมาณมากเกินไป และไม่สามารถระบายออกได้หมด เพราะการประกาศรับจำนำแบบไม่จำกัดปริมาณ หรือรับจำนำทุกเมล็ด และตั้งราคารับจำนำสูง เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรนำข้าวเข้าโครงการเกือบหมด อีกทั้งยังทำให้เกิดการสูญเสียงบประมาณในการบริหารจัดการข้าวที่มีปริมาณ มากๆ" นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าว

ขณะ เดียวกันยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่า งบประมาณที่จะใช้สูงถึง 405,000 ล้านบาทนั้นคุ้มค่าหรือไม่ และจะเป็นภาระต่องบประมาณ หรือก่อให้เกิดหนี้สาธารณะสูงขึ้นหรือไม่ ซึ่งรัฐบาลน่าจะเจียดงบประมาณในส่วนนี้ประมาณ 100 ล้านบาทไปทำวิจัยว่างบประมาณดังกล่าวทำให้เกษตรกรขายข้าวได้สูงขึ้นจริง และเกษตรกรนำเงินนั้นไปซื้อสินค้าได้ประเทศเท่าไร ก่อให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกี่รอบ และทำให้เศรษฐกิจในประเทศขยายตัวได้เท่าไร รวมถึงเกษตรกรสามารถปลดหนี้สินได้จริงหรือไม่ หากเกษตรกรมีเงินเหลือจับจ่ายใช้สอย ปลดหนี้ได้จริง และเศรษฐกิจขยายตัวได้มากขึ้น ก็น่าจะคุ้มค่ากับการทุ่มงบสูงถึง 4 แสนล้านบาท

นอก จากนี้ ปริมาณผลผลิตข้าวของไทยที่มีอยู่ถึงปีละกว่า 30 ล้านตัน หากเป็นของเกษตรกรไทยทั้งหมดก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าส่วนหนึ่งมาจากประเทศเพื่อนบ้าน รัฐบาลจำเป็นต้องนำเงินภาษีของประชาชนมาโอบอุ้มเกษตรกรของประเทศเพื่อนบ้าน หรือไม่

นาย ธนวรรธน์ กล่าวว่า รัฐบาลควรจะปรับปรุงหลักเกณฑ์การรับจำนำข้าวเพื่อไม่ให้เกิดภาระกับงบประมาณ มากจนเกินไป โดยการจำกัดปริมาณการรับจำนำจากเกษตรกรแต่ละรายให้น้อยลง เช่น ไม่เกิน 15-20 ตัน เน้นการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยมากกว่ารายใหญ่ หรือให้รัฐเป็นเจ้าของที่นาแล้วนำมาปล่อยให้เกษตรกรรายย่อยเช่าทำนา รวมถึงควรจะรับจำนำแบบจำกัดปริมาณ เช่น อาจจะ 30% ของปริมาณผลผลิตข้าวทั้งประเทศเหมือนที่ผ่านมา เป็นต้น

"รัฐ ต้องมานั่งดูแล้วว่า การรับจำนำทุกวันนี้ รัฐมุ่งจะช่วยเหลือเกษตรกรแบบไหน แบบที่ยังจนดักดาน มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรืออยากช่วยเกษตรกรแบบมีเงินซื้อรถแทรกเตอร์ใช้ได้เอง ซึ่งการจำกัดปริมาณการรับจำนำต่อราย และรับจำนำในปริมาณไม่มาก จะช่วยลดภาระการใช้งบประมาณได้มาก แล้วก็ควรรับจำนำแต่พอดี อย่าทำในระยะยาว เพราะไม่ได้ช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน" นายธนวรรธน์ กล่าว

อย่าง ไรก็ตาม ประเมินว่า โครงการรับจำนำข้าวที่เริ่มในเดือน ต.ค.-ธ.ค.นี้น่าจะช่วยทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 0.2% แต่หากทั้งโครงการหรือตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.55-30 ก.ย.56 น่าจะช่วยดันจีดีพีให้เพิ่มขึ้นได้ 0.5-0.7% เพราะคาดว่าจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นราว 150,000 ล้านบาท


“ดร.โกร่ง” ชี้รัฐบาลชุดนี้จะพังก็เพราะโครงการ “จำนำข้าว” ย้ำอันตรายที่สุด

“วีร พงษ์” ยอมรับ รบ.ชุดนี้อาจพังได้ หากดันทุรังโครงการ “จำนำข้าว” เผยตนเองเคยเขียนบทความเตือนให้เลิกโครงการไปแล้ว เมื่อเดือน ส.ค. เพราะอันตรายที่สุด ไม่สามารถป้องกันทุจริตได้
       
       นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงปัญหาความวุ่นวายโครงการจำนำข้าวที่กำลังบานปลายเป็นปัญหาใหญ่ โดยยอมรับว่าตนเองไม่เห็นด้วยกับโครงการจำนำข้าวมาตั้งแต่แรกเริ่มโครงการ แล้ว โดยตนเองได้เคยเขียนบทความเรื่องดังกล่าวเมื่อเดือนสิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา โดยเตือนว่าโครงการดังกล่าวอันตรายที่สุด และได้ถ่ายเอกสารให้นายกรัฐมนตรี พร้อมเสนอแนะไปว่าไม่ควรทำ
       
       นายวีรพงษ์ยืนยันว่า ถ้ารัฐบาลชุดนี้จะพังก็คงเป็นเรื่องโครงการรับจำนำข้าว เพราะแค่ชื่อโครงการจำนำก็ผิดแล้ว ซึ่งราคาจำนำต้องต่ำกว่าราคาจริง แต่การให้ราคาจำนำสูงกว่า คงไม่มีใครมาไถ่ถอน ข้าวที่มาจำนำก็มีทั้งของจริง และสต็อกลม ไม่สามารถป้องกันการทุจริตได้ ซึ่งถ้ารัฐยังขายข้าวไม่ได้ ก็จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงมาก เรื่องนี้ตนเองได้บอกให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไปแล้ว
      


“เอดีบี” ชำแหละ “จำนำข้าว” ทำ รบ.เสียมวย ยันไม่แปลกใจที่ถูกโจมตี

“เอ ดีบี” วิพากษ์นโยบาย “จำนำข้าว” รัฐบาลทำไม่ครบวงจร ออกนโยบายแค่ดันราคาข้าวให้สูงขึ้น แต่เมินพัฒนาคุณภาพพันธุ์ข้าว และการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ พร้อมระบุหากรัฐบาลพัฒนาคุณภาพข้าวจริงจัง ราคาข้าวจะปรับตัวสูงขึ้นเอง ยันไม่แปลกใจที่ถูกโจมตี
      นางสาวลักษมณ อรรถาพิช เศรษฐกรอาวุโส สำนักงานผู้แทนประจำประเทศไทย ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) กล่าวว่า โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ถือว่าเป็นนโยบายที่ไม่ครบวงจร แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามช่วยเหลือให้เกษตรกรมีรายได้ที่สูงขึ้น แต่กลับไม่มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ซึ่งหากรัฐบาลไทยพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพเหนือประเทศคู่แข่ง ก็เชื่อว่าราคาข้าวไทยจะสามารถปรับขึ้นได้เอง
       
       นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทย ซึ่งเคยเป็นอันดับหนึ่งของโลกปรับตัวลดลง เนื่องจากราคาข้าวไทยที่สูงกว่าคู่แข่ง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลถูกโจมตีในนโยบายดังกล่าว
       
       พร้อมกันนี้ ยังคาดว่ารัฐบาลจะยังคงดำเนินนโยบายการคลังที่ช่วยเหลือเศรษฐกิจต่อไปในปี หน้า รวมทั้งกู้เงินจำนวนมาก ทั้งพระราชบัญญัติกู้เงินเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลจะมีแผนการกู้เงินจำนวนมาก แต่ก็เชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาหนี้สาธารณะอย่างแน่นอน โดยคาดว่าหนี้สาธารณะต่อ GDP จะอยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 50 ในช่วง 3 ปีข้างหน้า


“ปู” เครียด “โกร่ง” ต้านจำนำข้าว หนีบ “บุญทรง” ตะแบงโครงการดี

“นายกฯ ยิ่งลักษณ์” หน้าเครียด หนีบ “บุญทรง” แจง “ดร.โกร่ง” ต้านจำนำข้าว ยันไม่โกรธ พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ แต่ยังเดินหน้าโครงการฯ อ้างต้องยกระดับราคาเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร รับมีทุจริตบ้างในบางจุด ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ยันขายต่างประเทศแล้ว 7 ล้านตันแบบจีทูจี แต่ไม่ยอมเปิดชื่อประเทศ ใบ้กินเจอถามจะขาดทุนเท่าไหร่ เช่นเดียวกับ รมว.พาณิชย์ก็ไม่สามารถบอกตัวเลขได้ ด้าน “กิตติรัตน์” ยกจำนำข้าวดีเยี่ยม
              น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ด้วยสีหน้าเคร่งเครียด พร้อมนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ กรณีนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรี คัดค้านโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลอย่างรุนแรง ถึงขั้นระบุว่ารัฐบาลจะพังเพราะโครงการนี้ว่า โครงการรับจำนำข้าวนั้นรัฐบาลต้องการที่จะช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับโดยตรงจากนโยบายนี้
       
       ส่วนที่ 2 คือ เมื่อมีการจำนำข้าวแล้วก็จะทำให้รายได้ของเกษตรกรสูงขึ้น ซึ่งก็จะกลับมาเป็นภาพสะท้อนในเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมานั้นราคาข้าวไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงทั้งๆ ที่ทุกคนก็รู้ดีว่าข้าวไทยเป็นข้าวที่มีคุณภาพ แต่ราคาที่มีการขายออกไปนั้นไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง นโยบายที่ดำเนินการนั้นก็เพื่อต้องการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร การกระตุ้นเศรษฐกิจและเพื่อการพยุงราคา
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า การจำนำข้าวที่สูงกว่าราคาท้องตลาดจะทำให้เกิดปัญหาในการระบายข้าวหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ถ้าเราคำนึงถึงเรื่องการระบายข้าวในประเทศ ก็อาจจะได้ราคาข้าวที่ไม่สูงมากนัก เราจึงใช้วิธีการระบายออกต่างประเทศคือการขายแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) ในราคาที่เหมาะสม ดูจากราคาตลาด อย่างไรก็ตามก็ต้องดูปริมาณที่ผลิตภายในประเทศด้วย ทั้งนี้ การระบายออกข้าวไปที่ไหนนั้นเราจะดูจากฐานราคาที่ดีที่สุดเพื่อลดภาระค่าใช้ จ่ายของรัฐบาล และไม่ได้หมายความว่ารัฐต้องการกำไร นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงการบริโภคภายในประเทศด้วยว่ามีจำนวนเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายเนื่องจากปัญหาข้าวเหลือจนราคาตก รัฐจึงพยายามที่จะสร้างความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงราคา ช่วงนี้จึงถือเป็นรอยต่อซึ่งแน่นอนอาจมีผลกระทบบ้าง ซึ่งก็ได้มอบหมายให้นายบุญทรงนัดประชุมกับผู้ส่งออกข้าวเพื่อที่จะหารือแนว ทางในการช่วยเหลือและแก้ไขต่อไป
       
       “สำหรับข้อห่วงใยต่างๆ ที่หลายหน่วยงานให้ความคิดเห็นก็ต้องยืนยันว่าทุกอย่างที่เริ่มต้นก็ย่อมมี ปัญหาและอุปสรรคบ้าง เราก็พยายามเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปแก้ไข ตรวจสอบ ทำทั้งเชิงรับและเชิงรุก ก็ต้องขอเวลาที่จะค่อยๆ ทำงานไป”
       
       ผู้สื่อข่าวแย้งว่า โครงการดังกล่าวผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ไม่ใช่เกษตรกร แต่จะเป็นนักการเมืองและกลุ่มเจ้าของโรงสี น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ก็ต้องดูและต้องถามกับเกษตรกรโดยตรงว่าวันนี้การรับจำนำข้าวนั้นครอบคลุม จำนวนเกษตรกรเท่าไหร่ ถือเป็นจุดหลักมากกว่า ในส่วนของโรงสีนั้นเป็นเพียงกลไกในการทำงานที่เขาจะได้ค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ถ้าเป็นอย่างอื่นก็ต้องมีการตรวจสอบ ยืนยันว่าด้วยนโยบายของรัฐบาลแล้วต้องการให้ประโยชน์ส่งถึงเกษตรกรและชาวนา โดยตรง
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่นายวีรพงษ์ระบุว่าหากยังเดินหน้าต่ออาจทำให้รัฐบาลพัง เพราะการตรวจสอบการทุจริตค่อนข้างลำบาก น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ความจริงนโยบายรับจำนำข้าวไม่ใช่การเริ่มนโยบายใหม่ เป็นนโยบายเดิมที่มีมาก่อนแล้วและได้รับการตอบรับจากประชาชน อย่างไรก็ตามก็ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการทำงานร่วมกัน วันนี้ต้องการให้สื่อมวลชนลงไปถามกับเกษตรกรในพื้นที่ว่าโครงการนี้เกษตรกร มีความต้องการอย่างไร และได้รับประโยชน์อย่างไร อยากให้มีการสอบถามไปถึงทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่าโกรธนายวีรพงษ์หรือไม่ที่ออกมาวิเคราะห์และวิจารณ์ นโยบายของรัฐบาลในเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีปฏิเสธว่า “ไม่โกรธค่ะ เพราะทุกคนมีสิทธิ์ห่วงใยได้ เราเองก็มีหน้าที่ชี้แจง วันนี้ถือว่าทุกท่านมีความห่วงใย แต่ก็ต้องทำการอธิบายและลงไปดูความต้องการที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะทุกอย่างเราก็พร้อมน้อมรับฟัง แต่รัฐบาลเองก็มีกลไกในการตรวจสอบ” ต่อข้อถามว่าได้ทำความเข้าใจกับนายวีรพงษ์หรือยัง นายกฯ ไม่ตอบคำถาม เพียงแค่พยักหน้าเท่านั้น
       
       ส่วนตลาดข้าวที่รัฐบาลไทยส่งออกไปมีที่ไหนบ้าง น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า เมื่อมีการระบายเสร็จก็เชื่อว่า รมว.พาณิชย์จะเป็นผู้แถลงทั้งหมด เบื้องต้นเท่าที่ได้รับรายงานก็มีการแข่งขันทั้งด้านของราคา ก็จะมีขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินการ เมื่อถามว่าแย้งว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าเราไม่สามารถขายข้าวได้ทำให้เกิดปัญหา น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า เรื่องนี้ให้ทางกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ชี้แจงดีกว่า อย่างไรก็ตาม รายได้ที่เราได้กลับมาจากการส่งออกนั้น บางส่วนจะมาจากการขายในลักษณะของจีทูจี ก็จะมีการทยอยการส่งมอบ ก็จะโชว์ตัวเลขต่อเมื่อมีการส่งมอบจริง ถึงวันนี้ที่ รมว.พาณิชย์ระบุถึงจำนวนที่จำหน่ายได้นั้นก็เป็นตัวเลขที่มีการตกลง มีสัญญาแล้ว แต่การส่งมอบเป็นการทยอยส่งไม่ได้ส่งครั้งเดียวทั้ง 7 ล้านตัน ซึ่งจะชัดเจนโดยดูได้จากตัวเลขที่กระทรวงพาณิชย์จ่ายเงินกลับคืนเข้าคลัง ซึ่งจะเป็นรอบๆไป จึงทำให้ไม่เห็นภาพที่ชัดเจนเหมือนปีที่ผ่านมา
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นการขาดทุนกำไรหรือไม่ นายกรัฐมนตรีถึงกับชักสีหน้าไม่สู้ดี ก่อนจะโยนให้นายบุญทรงเป็นคนตอบในเรื่องดังกล่าว พร้อมกล่าวว่า วันนี้ก็ต้องกลับไปดูว่าที่ผ่านมาเป็นโครงสร้างราคาที่ได้มานั้นสะท้อนกับ คุณภาพข้าวที่แท้จริงหรือไม่ ข้าวไทยมีคุณภาพดีแต่ราคาที่ขายได้เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านนั้นบาง ครั้งก็ไม่ได้สูงขึ้น รัฐบาลจึงพยายามทำให้ข้าวไทยนั้นกลับเข้าไปสู่ราคาที่เหมาะสมและสะท้อนความ เป็นจริง
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ออกมายอมรับว่ามีการทุจริตสวมรอยข้าวไทย จะดำเนินการอย่างไร นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าต้องดำเนินการโดยข้อกฎหมาย การทุจริตนั้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นเฉพาะจุดซึ่งอาจต้องไปดูในรายละเอียด เพราะบางครั้งอาจเกิดจากพฤติกรรมที่มีคนไปใช้ช่องว่างของระเบียบ อย่างไรก็ตาม ในทุกๆ ข้อมูลของการทุจริตไม่ว่าจะเป็น ในส่วนของผู้ประกอบการหรือเจ้าหน้าที่ ก็ต้องดำเนินการตามข้อกฎหมาย
       
       ด้าน นายบุญทรงกล่าวแทรกว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้ ร.ต.อ.เฉลิมเป็นหัวหน้าทีมในการตรวจสอบการทุจริต ดังนั้น เรื่องการทุจริตมีการทำอย่างละเอียดอยู่แล้วไม่ต้องเป็นห่วง ส่วนข้อสังเกตที่ว่าไทยไม่สามารถขายข้าวได้เลยหลังดำเนินโครงการจำนำข้าว นั้น ยืนยันว่ากระทรวงพาณิชย์ขายไปได้มากแล้วประมาณ 7 ล้านกว่าตัน เรื่องนี้ไม่ต้องห่วง
       
       เมื่อถามว่าฝ่ายค้านระบุว่าตัวเลขการส่งออกกับข้อมูลที่มีการนำเสนอ ไม่ตรงกัน รวมทั้งระบุว่าส่วนใหญ่เป็นการขายข้าวในประเทศไม่ได้มีการส่งออกแต่อย่างใด นายบุญทรงกล่าวว่า การส่งออกวันนี้ตัวเลขเป็นลักษณะการขายระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) ถ้าไม่ได้ทำสัญญาการขายแบบจีทูจีก็ไม่สามารถที่จะขายได้อยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้ก็มีอยู่หลายประเทศที่เป็นคู่สัญญาระหว่างกัน
       
       นายบุญทรงกล่าวตอบคำถามว่า การดำเนินโครงการจำนำข้าวทำให้เกิดการขาดทุนกำไรหรือไม่ว่า โครงการดังกล่าวการระบายข้าวจะจบในปีหน้า ดังนั้นตัวเลขที่รัฐบาลต้องรับภาระก็ยังยืนยันว่าอย่างไรก็ไม่มากไปกว่า โครงการที่ทำในปีที่ผ่านมา เมื่อถามว่ามีความเป็นห่วงว่าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจตามมา นายบุญทรงกล่าวปฏิเสธว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะรอบที่แล้วรัฐบาลก็ใช้เงินไป 8 หมื่นล้านจากโครงการประกันรายได้ของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งปีนี้ยืนยันว่าไม่เกินกว่านี้แน่นอน ส่วนข้อวิจารณ์ที่ระบุว่านโยบายดังกล่าวจะทำลายโครงสร้างข้าวภายในประเทศ นั้นก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน เพราะข้าวทั้งหมด 30 กว่าล้านตัน รัฐบาลรับจำนำเข้ามาประมาณ 20 ล้านตัน ที่เหลือก็อยู่ในมือพ่อค้า
       
       ด้าน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่านโยบายจำนำข้าวเป็นเรื่องที่ดีแน่นอน หากไม่ดีก็ถูกตำหนิ ดังนั้นจึงต้องทำอย่างระมัดระวังเต็มที่ และเชื่อว่าการทำโครงการรับจำนำข้าวเกิดผลบวกแล้วคือเกษตรกรได้ราคาที่ดี ส่งผลให้ชาวนามีกำลังการซื้อเพิ่มขึ้น และทำให้เศรษฐกิจเคลื่อนไหวด้วย แต่หลายฝ่ายที่เป็นห่วงเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้ช่วยกันระวัง และมั่นใจว่านายวีรพงศ์ก็มั่นใจว่าเป็นนโยบายที่ดีท่านจึงพูดว่าหากทำไม่ดี ก็เป็นเรื่องเสียหาย ทั้งนี้การแก้ไขป้องการทุจริตต้องทำจริงจังทุกเรื่อง ไม่เฉพาะเรื่องจำนำข้าว หากรัฐบาลเอาจริงเรื่องการทุจริต การทุจริตก็จะลดลง


นายกฯยัน"จำนำข้าว"ให้ประโยชน์เกษตรกร เลี่ยงตอบจะทำรบ.พัง ไม่โกรธ"โกร่ง"ไม่เห็นด้วยรุนแรง

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ที่ อาคารรัฐสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ถึงกรณีที่นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรี แสดงความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วยกับโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลค่อนข้าง รุนแรงว่า คงต้องเรียนเหมือนเดิมว่านโยบายจำนำข้าว เราต้องการจะช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับโดยตรงจากนโยบายจำนำข้าว นั่นคือวัตถุประสงค์ใหญ่ อีกทั้งเมื่อมีการจำนำข้าวรายได้เกษตรกรสูงขึ้น ก็จะกลับมาสะท้อนกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ เดิมทีราคาข้าวที่ผ่านมา ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง ทุกคนก็รู้อยู่แล้วว่าราคาข้าวไทยเป็นข้าวที่มีคุณภาพ

ผู้ สื่อข่าวถามว่า การรับจำนำในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด จะทำให้เกิดปัญหาในการระบายข้าวหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า การระบายในประเทศอาจจะไม่ได้ราคาสูงมาก เราจึงใช้วิธีการระบายไปยังต่างประเทศ โดยการขายแบบจีทูจี (รัฐต่อรัฐ) ในราคาที่เหมาะสมกับราคาตลาดมากกว่า อย่างไรก็ตาม ต้องไปดูปริมาณในประเทศด้วย เพราะบางครั้งการที่เราบอกว่าระบายที่ไหน 1.ดูจากฐานราคาที่ดีที่สุด เพื่อที่จะลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล แต่ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลต้องการกำไร 2.การระบาย ถ้าเกิดเราระบายแล้วเกิดปริมาณการบริโภคในประเทศไม่ได้มากอย่างนั้น เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าทั้งประเทศบริโภคข้าวต่อปีเท่าไร

"ดัง นั้น ผลผลิตที่เหลือก็แน่นอน ถ้าข้าวเหลือจะทำให้เกิดความเสียหาย ราคาก็ตก อันนี้ก็คือสิ่งที่เราก็คงจะพยายามที่จะสร้างความสมดุลระหว่างปริมาณอุปสงค์ และอุปทาน แล้วรวมถึงราคา ช่วงนี้เป็นช่วงของรอยต่อ แน่นอนอาจจะมีผลกระทบบ้าง ได้ให้นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นัดประชุมกับผู้ส่งออกข้าว เพื่อหารือแนวทางการช่วยเหลือและแก้ไขต่อไป ก็เรียนว่าเป็นสิ่งที่เราพยายาม ข้อห่วงใยต่างๆ ที่หลายหน่วยงานให้ความคิดเห็น ก็ต้องเรียนว่าทุกอย่างที่เริ่มต้นมันก็ต้องมีปัญหาอุปสรรคบ้าง เราก็พยายามเก็บข้อมูลต่างๆ เข้าไปแก้ไข การตรวจสอบเราก็ทำในเชิงรับเชิงรุกทุกอย่าง ก็ขอเวลาในการที่จะค่อยๆ ทำงานไป น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว

เมื่อ ถามว่า นายวีรพงษ์ระบุว่าผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวไม่ใช่ เกษตรกร แต่จะเป็นนักการเมืองและเจ้าของโรงสี ที่จะได้รับผลประโยชน์ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า อันนี้ต้องดู และต้องไปถามคำถามกับเกษตรกรโดยตรงว่า วันนี้การรับจำนำข้าวครอบคลุมจำนวนเกษตรกรทั้งหมดเท่าไร พืชไร่เท่าไร อันนี้เป็นเรื่องหลักมากกว่า ส่วนโรงสีนั้นเป็นกลไกที่จะทำงาน เขาก็จะได้ในเรื่องค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ถ้าเป็นส่วนอื่นก็ต้องตรวจสอบ ยืนยันว่าด้วยนโยบายเราต้องการให้ประโยชน์ส่งถึงเกษตรกรหรือชาวนาโดยตรงอยู่ แล้ว

เมื่อ ถามว่า นายวีรพงษ์เกรงว่าจะทำให้รัฐบาลพัง เพราะการตรวจสอบการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวทำได้ลำบาก น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า นโยบายนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเคยมีมาแล้ว ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชนอยู่แล้ว ส่วนแรกเราต้องได้รับความร่วมมือจากการทำงานร่วมกัน อยากให้สื่อมวลชนไปถามในพื้นที่ ลงไปถามเกษตรกร ว่าโครงการนี้เกษตรกรมีความต้องการอย่างไร และได้รับประโยชน์อย่างไร ตนก็อยากขอให้ถามให้ครบทุกกลุ่มด้วย

เมื่อ ถามว่า รู้สึกโกรธนายวีรพงษ์หรือไม่ ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นดังกล่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า "ไม่โกรธหรอกค่ะ เพราะว่าทุกคนมีสิทธิห่วงใยได้ เราเองก็ต้องชี้แจง มีหน้าที่ชี้แจง เราถือว่าทุกท่านมีความห่วงใย เราก็ต้องอธิบายแล้วก็ลงไปดู ดิฉันพร้อมน้อมรับและรับฟัง แต่เราเองก็มีกลไกในการตรวจสอบ"

เมื่อ ถามว่า ข้าวที่ส่งออกไปมีส่งออกไปยังประเทศใดบ้าง น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า เมื่อมีการระบายเสร็จแล้ว กระทรวงพาณิชย์จะแถลงเอง เบื้องต้นเนื่องจากการแข่งขันด้านราคาต่างๆ เขาจะมีขั้นตอนการให้ข้อมูลเป็นลำดับอยู่แล้ว เมื่อถามว่า แต่วันนี้มีการตั้งข้อสังเกตว่าไทยไม่สามารถขายข้าวได้เลย ทำให้คุณภาพข้าวด้อยลงไป น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า เดี๋ยวให้กระทรวงพาณิชย์ตอบดีไหมว่า เขาขายไปเท่าไรแล้ว

เมื่อ ถามว่า ฝ่ายค้านระบุว่าตัวเลขการส่งออกกับข้อมูลที่ได้พบไม่ตรงกัน และไม่มีการส่งออกข้าวไปขายต่างประเทศ แต่ส่วนใหญ่ขายในประเทศไทย น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ต้องเรียนว่ารายได้ของการส่งออกบางส่วนเป็นการขายภายใต้จีทูจี จะมีการทยอยส่งมอบ ซึ่งจะโชว์ตัวเลขเมื่อมีการส่งมอบจริง จำนวน 7 ล้านตัน ที่ขายได้คือจำนวนตัวเลขที่มีการตกลงแล้ว มีสัญญาแล้ว แต่การส่งมอบไม่ได้ส่งทั้งหมด 7 ล้านตัน จึงมีการทยอยส่ง ถามว่าจะเห็นตัวเลขได้จากไหน ก็จะเห็นได้จากตัวเลขที่กระทรวงพาณิชย์จ่ายเงินกลับคืนเข้าคลังงบประมาณ จึงจะจ่ายเป็นรอบเข้าไป ดังนั้นวิธีการเลยไม่เห็นเหมือนปีที่ผ่านมา ซึ่งปีที่ผ่านมาถ้าขายในประเทศ เมื่อขายเสร็จแล้วระบายก็รับรู้ตัวเลขเลย วันนี้มีการขาย มีการส่งออก มีการส่งมอบ ก็ต้องไปดูตัวเลขส่งมอบที่จะมาจากตัวเลขของการส่งออก

เมื่อ ถามว่า เบื้องต้นประมาณได้หรือไม่ว่าจะมีการขาดทุนหรือกำไรจำนวนเท่าไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ทำหน้าเจื่อนๆ และไม่ได้ตอบคำถาม ทำให้นายบุญทรงที่ยืนอยู่ข้างๆ ตอบคำถามแทน โดยนายบุญทรงกล่าวว่า "การทำโครงการจะจบปีหน้า หลังจากที่เราระบายครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ตัวเลขที่เราจะต้องรับภาระในส่วนของรัฐบาลก็ยังยืนยันว่าอย่างไร ก็ไม่มากไปกว่าโครงการที่ทำในปีที่ผ่านมา"

เมื่อ ถามว่า มีการมองว่าจะเป็นการทำลายโครงสร้างข้าวภายในประเทศ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ต้องกลับไปดูว่าโครงสร้างที่ผ่านมาสะท้อนราคาข้าวหรือไม่ วันนี้เราเห็นว่าข้าวเราคุณภาพดี แต่ราคาที่เราขายได้เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านราคาเราไม่ได้สูงขึ้น นี่คือสิ่งที่เราพยายามที่อยากจะให้ข้าวของเรากลับไปสู่ราคาที่เหมาะสม และสะท้อนความเป็นจริงด้วย

เมื่อ ถามว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ออกมายอมรับว่ามีการทุจริตสวมรอยจำนำข้าว น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ต้องดำเนินการโดยข้อกฎหมาย การทุจริตเกิดขึ้นเฉพาะจุด ซึ่งอาจจะต้องไปดูในรายละเอียด เพราะบางทีอาจจะเกิดจากพฤติกรรมของคน ที่จะใช้ช่องว่างของระเบียบต่างมาทุจริตด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่พบการทุจริตไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ เป็นต้น ทุกอย่างต้องดำเนินการตามกฎหมาย

ที่มา : มติชนออนไลน์


ปู” มั่นใจ รบ.ชุดนี้ไม่พังเพราะโครงการ “จำนำข้าว” แน่นอน “บุญทรง” ปัดข่าวซี้ปึ้กโรงสี

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

“ปู” หน้าเครียด “ดร.โกร่ง” จัดหนักค้าน “จำนำข้าว” จูงมือ “บุญทรง” แถลงยืนยัน รบ.ไม่พังเพราะโครงการ “จำนำข้าว” แน่นอน ยันไม่รู้สึกโกรธ “ดร.โกร่ง” ที่ออกมาทักท้วง เพราะไม่ใช่โครงการที่ทำลายโครงสร้างข้าวใน ปท. ย้ำเป็นประโยชน์แก่ชาวนาจริงๆ และอยากให้ไปสอบถามชาวนาบ้าง “บุญทรง” ยันไม่รู้จักโรงสีรายใด ไม่ยอมให้มีการทุจริตเด็ดขาด

       
       มีรายงานข่าวว่า เมื่อเวลา 12.30 น. วันนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกันชี้แจงกรณี นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรี และกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) วิจารณ์เรื่องการจำนำข้าว
       
       รายงานข่าวระบุว่า ตลอดเวลาของการชี้แจงเรื่องนี้ยาวนานกว่า 8 นาที น.ส.ยิ่งลักษณ์มีสีหน้าเคร่งเครียด โดยยืนยันว่าตนเองไม่โกรธและยินดีรับฟัง ดร.โกร่งพร้อมย้ำว่าโครงการนี้ชาวนาได้ประโยชน์ และอยากให้ไปสอบถามชาวนาบ้าง รวมทั้งไม่เป็นโครงการที่ทำลายโครงสร้างข้าวภายในประเทศ
       
       ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเชื่อว่ารัฐบาลนี้จะไม่พังเพราะโครงการนี้ ส่วนปัญหาการทุจริต และการนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิข้าวไทยนั้นเป็นเรื่องที่ต้อง ตรวจสอบต่อไป
       
       ทั้งนี้ โครงการรับจำนำข้าวนาปีเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา แต่ผู้ประกอบการโรงสีภาคกลางบางส่วนยังไม่สามารถเปิดจุดรับจำนำข้าวได้ ซึ่งนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติโรงสีที่สมัครเข้าร่วม โครงการมากกว่า 800 ราย ขณะเดียวกัน ยังปรับปรุงมาตรการป้องกันการทุจริตในโครงการอย่างเต็มที่ และพร้อมเดินหน้าโครงการแน่นอน
       
       ส่วนกรณีความเห็นของ ดร.โกร่งถือเป็นความคิดเห็นเชิงวิชาการ โดยจะนำไปพิจารณาดูว่ารัฐบาลจะอุดช่องว่างป้องกันการคอร์รับชันอย่างไร พร้อมยืนยันว่าตนอยู่ในตำแหน่งนี้ไม่รู้จักโรงสีรายใดเลย และจะไม่ให้เกิดการคอร์รัปชัน หากใครทำจะโดนโทษสูงสุดทั้งทางวินัย อาญา และแพ่ง สำหรับในส่วนของโรงสี หากพบก็จะส่งให้ตำรวจ และดีเอสไอดำเนินคดีอาญาต่อไป


บุญทรงยันจำนำข้าวชาวนาได้เงิน

จาก โพสต์ทูเดย์

บุญทรงยันนโยบายจำนำข้าวมีข้อดีหลายอย่างชาวนาได้ประโยชน์เต็มที่เม็ดเงินถึงมือใช้งบไม่มาก

นาย บุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ผ่านเว็บไซต์อินไซด์ไทยกอฟ (www.insidethaigov.com) ถึงนโยบายรับจำนำสินค้าเกษตร ในหัวข้อ “บุญทรง เตริยาภิรมย์ จำนำข้าว ยกระดับ ชาวนา” โดยมีสาระสำคัญว่า นโยบายรับจำนำข้าวมีข้อดีหลายอย่าง ทั้งการยกระดับราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น ชาวนาได้ประโยชน์เต็มที่ เพราะเม็ดเงินถึงมือ แม้จะไม่เอาข้าวมาจำนำในโครงการของรัฐบาล แต่ราคาข้าวในตลาดในประเทศนั้นข้าวเปลือกก็มีราคาขยับสูงขึ้นกว่าเดิมที่มี อยู่ในอดีต ขณะที่รัฐบาลยังมีข้าวอยู่ในสต็อก ที่สามารถเอาไปบริหารได้

         
นาย บุญทรงกล่าวอีกว่า หากเปรียบเทียบกับโครงการประกันรายได้เกษตรของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา เห็นได้ว่าเม็ดเงินที่ใช้ในแต่ละปีอยู่ที่ประมาณ 7-8 หมื่นล้านบาท อีกทั้ง รัฐบาลไม่มีข้าวอยู่ในมือ โดยหลายคนพยายามโต้แย้งว่าโครงการประกันราคาพืชผลดีกว่าโครงการรับจำนำ แต่รัฐบาลนี้เห็นว่าเรื่องการรับจำนำดีกว่า เพราะท้ายที่สุดเงินที่เข้าสู่มือเกษตรกรได้มากกว่า
         
ส่วน กรณีที่นักวิชาการบางส่วนเป็นห่วงโครงการนี้จะสิ้นเปลืองงบประมาณมหาศาลนั้น นายบุญทรงกล่าวแสดงความมั่นใจว่า รัฐบาลใช้เม็ดเงินงบประมาณแต่ละปี ไม่สูงไปกว่าโครงการประกันรายได้ของรัฐบาลก่อนหน้านี้ โดยโครงการจำนำข้าวที่สิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 30 ก.ย. ใช้เงินไป 3 แสนล้านบาท และเมื่อระบายข้าวได้จะส่งเงินคืนให้กระทรวงการคลัง 8.5 หมื่นล้านบาท ภายในปี 55 และคาดว่าปลายปี 56 จะคืนเงินให้กระทรวงการคลังได้มากถึง 2.4-2.5 แสนล้านบาท
         
นอก จากนี้ รัฐบาลยังมีแนวทางในการช่วยเหลือชาวนาเพิ่มเติมอีก โดยล่าสุดเริ่มปรึกษาหารือกับ เวียดนาม กัมพูชา ลาวและพม่า เพื่อร่วมกันตั้งสมาพันธ์ประเทศผู้ผลิตข้าว ล่าสุด อยู่ในระหว่างเร่งดำเนินการ เพื่อให้ผู้นำทั้ง 5 ประเทศทำความตกลงกันให้ได้ภายในเดือนพ.ย.นี้


โต้งเมินโกร่งยันรัฐเดินหน้าจำนำข้าว

จาก โพสต์ทูเดย์

กิตติ รัตน์ เผยนายกฯสั่งกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงที่เหลือดัน จีดีพี ปีนี้โตเข้าเป้า 5-6%  ย้ำรัฐบาล เดินหน้าจำนำข้าว แต่พร้อมรับฟังความเห็นค้าน วีรพงษ์

นาย กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจในวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจเดินหน้าผลักดันมาตรการต่าง ๆ ในช่วงที่เหลือในปีนี้อย่างเต็มที่แม้ว่าจะเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของปีก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อทำให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวได้ตามเป้าหมายในช่วง 5-6%

นาย กิตติรัตน์ ยืนยัน รัฐบาลจะเดินหน้าโครงการจำนำข้าว แต่ขณะเดียวกันก็พร้อมรับฟังความเห็นค้านของนายวีรพงษ์ รามางกูร  ประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว โดยจะนำความเห็นต่าง ๆ ไปปรับปรุงรูปแบบการทำงาน เพื่อป้องกันการรั่วไหลให้ได้มากที่สุด


ม็อบแดงเหิมได้ใจปิด “ถ.มิตรภาพ” โคราช -ขู่ “นิด้า” ให้เวลา 15 วันยุติล้มจำนำข้าว

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา
- ม็อบแดงโคราชเหิมได้ใจใช้กฎหมู่เทแกลบปิดหน้าประตูทางเข้า “นิด้า” และเคลื่อนฝูงปิด ถ.มิตรภาพ อ.สีคิ้ว ส่งผลรถติดยาว เรียกร้องคณาจารย์และนักศึกษานิด้าหยุดคัดค้านและยุติบทบาทยื่นศาลรัฐ ธรรมนูญล้มจำนำข้าวของรัฐบาล ขู่ให้เวลาอีก 15 วันไม่มีคำตอบเจอม็อบชาวนาทั้งภาคอีสานบุกกดดันแน่

       
       วันนี้ (3 ต.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่บริเวณริมถนนมิตรภาพ หลัก กม.ที่ 78-79 หน้า สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) บ้านคลองตะแบก ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา กลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นเกษตรกรชาวนา จ.นครราชสีมา จาก อ.สีคิ้ว, อ.ปากช่อง, อ.สูงเนิน, อ.เมือง, อ.ด่านขุนทด, อ.สีดา, อ.บัวใหญ่, อ.บัวลาย, อ.แก้งสนามนาง กว่า 1,000 คน พร้อมรถอีแต๋น, รถอีแต๊ก รถไถนา และรถยนต์กระบะติดเครื่องขยายเสียง ได้เดินทางมาชุมนุมอยู่บริเวณดังกล่าว ภายใต้การนำของนายเขื่อนเพชร โพนรัมย์ ผู้ประสานงานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ภาคอีสาน และแกนนำ นปช.โคราช, นายอนุวัฒน์ ทินราช ประธาน นปช.นครราชสีมา และรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และนายทรงศักดิ์ หมายสุข แกนนำเกษตรกร อ.สีคิ้ว
       
       ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้รถอีแต๋นเปิดเป็นเวทีปราศรัยย่อยโจมตีคณบดีคณะพัฒนา เศรษฐกิจ นิด้า, คณาจารย์นิด้า, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตัวแทนนักศึกษา จำนวน 146 คน ที่ร่วมกันยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยโครงการรับจำนำข้าวของ รัฐบาลขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 41 และมาตรา 81(1) หรือไม่
       
       ต่อมาแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมได้อ่านแถลงการณ์ข้อเรียกร้อง และเรียกร้องให้อธิการบดีนิด้าเดินทางมารับหนังสือแถลงการณ์ด้วยตัวเอง แต่เนื่องจากสถาบันแห่งนี้ทำการเปิดการเรียนการสอนเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ และวันนี้มีเฉพาะเจ้าหน้าที่ประจำอยู่เพียง 5 คนเท่านั้น จึงไม่มีใครออกมารับหนังสือจากกลุ่มผู้ชุมนุมแต่อย่างใด
       
       จากนั้นแกนนำผู้ชุมนุมได้ปราศรัยปลุกระดมให้เกษตรกรใช้มาตรการกดดัน ด้วยการเทแกลบจำนวน 3 กระสอบกองไว้ที่หน้าประตูทางเข้าสถาบันนิด้า ก่อนเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมเข้าปิดถนนมิตรภาพฝั่งขาออก จ.นครราชสีมา จำนวน 2 ช่องจราจร เพื่อไม่ให้รถยนต์สามารถสัญจรผ่านเข้าไปกรุงเทพฯ ได้ โดยใช้เวลาในการปิดถนนประมาณ 10 นาที ทำให้การจราจรติดขัดยาวกว่า 1 กิโลเมตร (กม.)
       
       ต่อมา นายประภาศ รักษาทรัพย์ นายอำเภอสีคิ้ว และ พ.ต.อ.ชัยเดช ปานรักษา รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด (รอง ผบก.) นครราชสีมา ได้เข้าเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมพร้อมให้เจ้าหน้าที่นิด้าออกมารับหนังสือแทน ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมพอใจ ยกเลิกการปิดถนนดังกล่าว
       
       และประกาศว่าจะให้เวลานิด้าอีก 15 วันในการยุติการเคลื่อนไหวในเรื่องดังกล่าว โดยจะเดินทางมาทวงถามคำตอบในช่วงวันทำการเปิดการเรียนการสอน หากได้รับคำตอบไม่เป็นที่น่าพอใจจะปักหลักชุมนุมประท้วง และระดมกลุ่มเกษตรกรจากทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาสมทบด้วย จากนั้นจึงได้สลายการชุมนุมแยกย้ายกันเดินทางกลับบ้าน
       
       นายเขื่อนเพชร โพนรัมย์ ผู้ประสานงาน นปช.ภาคอีสาน และแกนนำ นปช.โคราช กล่าวว่า ข้อเรียกร้องของเราคือนักวิชาการดังกล่าวจงหยุดหวังดีประสงค์ร้าย หยุดแสดงการคัดค้าน หยุดการกระทำที่เป็นปรปักษ์กับชาวนา ซึ่งวันนี้เกษตรกรเกือบทุกอำเภอของโคราชออกมาชุมนุมร่วมกัน
       
       เพราะประเด็นแรกพวกเรารู้สึกว่าคณาจารย์นิด้า และตัวแทนนักศึกษากว่า 140 คนไม่ได้มองเห็นความทุกข์ยากเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรชาวนาจริงๆ ทั้งที่โครงการจำนำข้าวของรัฐบาลเป็นประโยชน์แก่ชาวบ้านชาวนา จึงอยากถามอาจารย์เหล่านี้ว่า กล้าที่จะดีเบตหรือเปล่า ซึ่งพวกเรากล้าดีเบตกับอาจารย์นิด้าทุกเวทีในเรื่องนี้ เพราะเรื่องนี้คณาจารย์นิด้าทำให้พี่น้องชาวนาเสียประโยชน์ พวกเรารับไม่ได้อย่างแน่นอน
       
       ส่วนการเคลื่อนไหวนั้น ข้อเรียกร้องเบื้องต้นของเราคือต้องการพบอธิการบดีนิด้าซึ่งเป็นอดีตนัก ต่อสู้เหมือนกัน และขอให้คณาจารย์นิด้าแถลงการณ์ให้ชัดเจนว่ามีวัตถุประสงค์อะไรแอบแฝงหรือ ไม่ ไปรับอะไรมาหรือมีเบื้องหน้าเบื้องหลังหรือไม่ เพราะที่ผ่านมานักวิชาการไม่เคยรับผิดชอบอะไรต่อสังคมอยู่แล้ว
       
       “การ เดินทางมาชุมนุมกันในวันนี้พวกเรายืนยันว่าไม่มีเบื้อง หน้าเบื้องหลังเด็ดขาด และในสัปดาห์หน้าเราจะประชุมตัวแทนชาวนาทั่วประเทศเพื่อกำหนดท่าทีในการ ต่อสู้อีกครั้ง หากคณาจารย์นิด้าเหล่านั้นยังนิ่งเฉย” นายเขื่อนเพชร กล่าว


ก่อแก้วหนุนจำนำข้าวท้าอาจารย์เสนอโครงการอื่นดีกว่า

จาก โพสต์ทูเดย์

"ก่อ แก้ว" ค้าน กลุ่มอาจารย์ล้มจำนำข้าว ควรแนะแก้จุดอ่อนมากกว่าล้มท้าเสนอโครงการอื่นที่ดีกว่า  เสนอไม่จำเป็นต้องลดราคาข้าวไปสู่คู่แข่ง
 

นาย ก่อแก้ว พิกุลทอง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กรณีที่มีกลุ่มนักวิชาการออกมาคัดค้านยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา โครงการรับจำนำข้าวน้ั้น ส่วนตัวของสนับสนุนโครงการรับจำนำข้าวให้ดำเนินการต่อไป เพราะเป็นการยกระดับชาวนาให้มีกำลังซื้อ มีเงินมาจับจ่ายใช้สอย ส่งลูกเรียน ส่งผลต่อไปถึงลดอาชญากรรม นอกจากนี้ยังเห็นว่าไม่จำเป็นที่จะต้องดั๊มราคาข้าวให้ลดต่ำลงเพราะจากสถิติ ที่ผ่านมา ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่งมาตลอด เช่น ปี 2009 ราคาข้าวไทยตันละ  555 เหรียญสหรัฐ ขณะที่เวียดนามราคา 432 เหรียญสหรัฐ  ไม่จำเป็นที่จะต้องทำให้ราคาข้าวต่ำเพื่อไปแข่งขันกับต่างประเทศ แต่ควรทำเหมือนกับโอเปคที่ดันราคาน้ำมัน ทั้งที่ คนอดข้าวตาย แต่อดน้ำมันไม่ตาย

ทั้ง นี้ หลักการโครงการรับจำนำข้าวเป็นเรื่องดี ดังนั้น แทนที่อาจารย์ซึ่งเห็นว่ามีจุดอ่อนก็ควรที่จะมาเสนอแก้จุดอ่อนไม่ใช่จะมาล้ม โครงการ หรือไม่เช่นนั้นหากเห็นว่ามีโครงการอื่นที่ดีกว่า ก็ควรเสนอมาว่าอะไรจะดีกับเกษตรกร  อย่างไรก็ตาม เห็นว่าควรจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป 2-3 ปีจากนั้นค่อยมาพิจารณาอีกทีว่าได้เดินไปตามสิ่งที่รัฐบาลตั้งความหวังหรือ ไม่


รักษ์ไม้,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,มูลไส้เดือนดิน,การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยอินทรีย์,ปุ๋ยชีวภาพ

Tags : นักวิชาการชี้ โครงการรับจำนำข้าว ส่งผลเสียระยะยาว แนะปรับเกณฑ์ เหมาะสม

view