สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มารู้จักข้าวพันธุ์พื้นเมืองในอดีต

จาก เทคโนโลยีชาวบ้าน

ไพบูลย์ แพงเงิน

มารู้จักข้าวพันธุ์พื้นเมืองในอดีต

ชื่อข้าวพันธุ์พื้นเมือง เมื่อ 128 ปีก่อน (พ.ศ. 2435)

1. ประเภทของนาสมัยโน้น ประกอบด้วย (1) นาปัก (เข้าใจว่า คือ นาดำ), (2) นาทุ่ง (เข้าใจว่า คือ นาหว่าน) และ (3) ข้าวไร่ (คือ นาหยอดบนที่ดอน)


2. ข้าวนาปัก ได้แก่ (1) ข้าวขาวเขมร (2) ข้าวเจ้าพระยาชม (3) ข้าวเจ้าเหลืองทอง (4) ข้าวเจ้าทองมาแขก (5) ข้าวเจ้าหินซ้อน (6) ข้าวเจ้าขาวตาจุ้ย (7) ข้าวเจ้าพวงมาลัย (8) ข้าวเจ้าสีสะปลวก (หัวปลวก), (9) ข้าวเจ้าขาวเสมอ (10) ข้าวเจ้าสร้อยสวิง (11) ข้าวเจ้าขาวงาช้าง (12) ข้าวเจ้าขาวพวง (13) ข้าวเจ้าก้นจุด (14) ข้าวเจ้าข้าวต้มเจ๊ก (15) ข้าวเจ้าสาวน้อย (16) ข้าวเจ้าข้าวหาง (17) ข้าวเจ้าสายบัว (18) ข้าวเจ้าสีเมก (สีเมฆ?), (19) ข้าวเจ้านางตะกุย (20) ข้าวเจ้าจำปาทอง (21) ข้าวเจ้านางไข่ (22) ข้าวเจ้านางหอม (23) ข้าวเจ้าขาวซ้งเสท (24) ข้าวเจ้าทลายตาน (ชื่อแปลกดี)

3. ข้าวนาปักข้าวเหนียว ได้แก่ (1) ข้าวฉอมปราง (2) ข้าวแก่นมะเกลือ (3) ข้าวนวนแตง (4) ข้าวแก้วกลาง (5) ข้าวน้ำผึ้ง (6) ข้าวเกวียนหัก (7) ข้าวเหนียวหล่ม (8) ข้าวแดงหลวง (9) ข้าวนางดาว (10) ข้าวเหนียวดำ (11) ข้าวปล้องแอว (12) ข้าวมันปู (13) ข้าวแดงดอกประดู่ (14) ข้าวตรสวย (เข้าใจว่าจะสะกดผิด) เพราะ ต ร ส ว ย อ่านแล้วจับความไม่ได้), (15) ข้าวแก่นจัน (16) ข้าวตภ่าบน้ำ (ตะพาบน้ำ), (17) ข้าวพวงมาลัย (18) ข้าวตันยา (กันยา?) และ (19) ข้าวมะโนรา

4. ข้าวเจ้านาทุ่ง ได้แก่ (1) ข้าวสร้อยทอง (2) ข้าวพลายงาม (3) ข้าวขาวกระดูกช้าง (4) ข้าวแตง (5) ข้าวนางตะครอง (6) ข้าวพม่า (7) ข้าวขาว (8) ข้าวบางมร (น่าจะเป็น บางมอญ หรือไม่ก็เป็น นางมล), (9) ข้าวทองงาม (10) ข้าวขาวใหญ่ (11) ข้าวเจตะภัก (12) ข้าวสมบุญ (13) ข้าวหอมหนัก (14) ข้าวแดงทราย (15) ข้าวสุพัน (สุพรรณ?), (16) ข้าวเมตมะเขือ (เม็ดมะเขือ), (17) ข้าวยุ้งทะลาย (18) ข้าวเกร็ษ (ข้าวเกร็ด?), (19) ข้าวแก้ว (20) ข้าวขาวเกาะ (21) ข้าวทองสุก (22) ข้าวทองตนี (ตานี?), (23) ข้าวป่อม

5. ข้าวเหนียวนาทุ่ง ได้แก่ (1) ข้าวนกกระทา (2) ข้าวดอกขะหนาก (3) ข้าวเหนียวตม (4) ข้าวรากกล้วย

6. ข้าวไร่-ข้าวเจ้า ได้แก่ (1) ข้าวนางล้อม (2) ข้าวเจ้านางบู่ (3) ข้าวเมตน้อย (เม็ดน้อย), (4) ข้าวสะโว้ง (5) ข้าวนางสูบ และ

7. ข้าวไร่-ข้าวเหนียว ได้แก่ (1) ข้าวต้นเตี้ย (2) ข้าวพวงดำ (3) ข้าวนางปูย (4) ข้าวกาบอ้อย

8. ข้าวโพช (ข้าวโพด) มี 3 ประเภท คือ ข้าวโพดข้าวเจ้า ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดสาลี

9. ข้าวฝ้าง (ข้าวฟ่าง) มี 2 ชนิด คือ ข้าวฝ้างข้าวเหนียว และข้าวฝ้างข้าวเจ้า

10. ข้าวสมุทโคดม (น่าจะนับเป็นข้าวฟ่างอีกชนิดหนึ่ง)

11. ข้าวละมาร (หรือ ละมาน) เป็นข้าวป่าชนิดหนึ่ง มักขึ้นแซมตามต้นข้าวปลูก จึงกลายเป็นวัชพืชไป



(ที่ มา-บาญชีสิ่งของ (ในงานแสดงสินค้า) นาเชนแนลเอกซอิบิเชน ณ ท้องสนามหลวง ในการเฉลิมพระมหานคร บันจบครบรอบ 100 ปี)-ปีมเมีย จัตวาศก 1244 (พ.ศ. 2435) พิมพ์ใหม่เพื่อการอนุรักษ์ โดย สำนักพิมพ์ต้นฉบับ พ.ศ. 2543.



รายชื่อข้าวพันธุ์ดี ในสมัยรัชกาลที่ 5

1.การประกวดพันธุ์ข้าวที่เมืองธัญญบุรี ในปี ร.ศ. 126 (2450)

มีผู้ส่งข้าวเข้าประกวด 324 ราย เป็นข้าวจำนวน 503 ชนิด ผลการประกวด มีดังนี้

รางวัล ที่ 1-ข้าวปิ่นทอง (ข้าวหนัก) จากเมืองธัญญบุรี, รางวัลที่ 2 ข้าวบายศรี (ข้าวกลาง)-คลองรังสิตฝั่งใต้ และรางวัลที่ 3 ข้าวขาวงาช้าง จากเมืองธัญญบุรี

รางวัลที่ 4 มี 10 รางวัล ได้แก่ (1) ข้าวเหลืองสะแก (ข้าวหนัก)-ธัญญบุรี, (2) ข้าวขาวพวงเงิน (ข้าวหนัก)-คลอง 9 ฝั่งเหนือรังสิต, (3) ข้าวขาวลอย (ข้าวหนัก)-คลองซอย ฝั่งเหนือรังสิต, (4) ข้าวขาวเกวียนหัก (ข้าวกลาง)-คลองซอย 12 ฝั่งใต้คลองรังสิต, (5) ข้าวเกษี (ข้าวหนัก)-ธัญญบุรี, (6) ข้าวขาวประคอง (ข้าวกลางปี)-คลอง 16 ฝั่งเหนือฯ, (7) ข้าวเสมอใจ (ข้าวเบา)-คลองซอย 7 ฝั่งเหนือฯ, (8) ข้าวพวงมาลัย (ข้าวเบา)-ธัญญบุรี, (9) ข้าวกู้พารา (ข้าวหนัก)-ธัญญบุรี และ (10) ข้าวเจ๊กกระโดด (ข้าวกลางปี)-คลอง 6 ฝั่งเหนือฯ

2.งานประกวดพันธุ์ข้าว ที่วัดสุทัศน์ พ.ศ. 2452 (เป็นการจัดประกวด ครั้งที่ 2)

เป็นการจัดประกวดทั่วประเทศ มีเกษตรกรจาก 16 มณฑล ส่งเข้าประกวด แต่ละมณฑลจะมีรางวัลให้ 3 รางวัล มีข้าวที่ได้รับรางวัล ดังนี้

1. มณฑลนครไชยศรี (1) ข้าวขาวใบศรี (2) ข้าวพวงมาลัย (3) ข้าวเหลืองแม่รำพึง

2. มณฑลกรุงเทพฯ (1) ข้าวขาวชูใบ (2) ข้าวขาวประคอง (3) ข้าวทองพันชั่ง

3. มณฑลปราจิณบุรี (1) ข้าวเหลืองประดู่ (2) ข้าวเหลืองปิ่นทอง (3) ข้าวเหลืองลอย

4. มณฑลภูเก็ต (1) ข้าวขาวนางนวล (2) ไม่มีข้าวได้รับ (3) ข้าวไทรเหลือง

5. มณฑลราชบุรี (1) ข้าวเหลืองลืมแกง (2) ข้าวทองลอย (3) ข้าวหอมจันทร์

6. มณฑลจันทบุรี (1) ข้าวขาวละอองฟ้า (2) ข้าวขาวมะลิ (3) ข้าวแดงตาอ่วม

7. มณฑลอิสาณ (1) ข้าวเสวย (2) ข้าวพันธุ์ทอง (3) ข้าวแม่ฮ้าง

8. มณฑลกรุงเก่า (1) ข้าวไข่จรเข้ (2) ข้าวเจ้าเมืองจีน (3) ข้าวเล็บมือนาง

9. มณฑลอุดร (1) ข้าวหอมเสวย (2) ข้าวหอมทุ่ง (3) ข้าวมะเขือ

10. มณฑลพิศณุโลก (1) ข้าวขาวคัด (2) ข้าวพวงกลอม (3) ข้าวพระยาชม

11. มณฑลนครศรีธรรมราช (1) ข้าวทองสาย (2) ข้าวตั้งก้อ (3) ข้าวหักมุก

12. มณฑลนครสวรรค์ (1) ข้าวขาวลาว (2) ข้าวขาวพวง (3) ข้าวขาวงาช้าง

13. มณฑลนครราชสิมา (1) ข้าวดูกหลวงพินิจ (2) ข้าวเหลืองใหญ่ (3) ข้าวมาแขก

14. มณฑลเพ็ชร์บูรณ์ (1) ข้าวหอม (2) ข้าวแดง (3) ข้าวขาวใหญ่

15. มณฑลชุมพร (1) ข้าวเล็บมือนาง (2) ข้าวขาว และ (3) ข้าวเล็บนก

16. มณฑลปัตตานี (1) ปะแดปุเต๊ะ (2) ข้าวไม่เกี่ยว (3) ข้าวบางอ

3. งานแสดงกสิกรรมแลพานิชการ พ.ศ. 2453 ณ สระประทุมวัน รัตนโกสินทร์ศก 129

ตรง กับปี พ.ศ. 2453 มีการจัดประกวดพรรณเข้า (พันธุ์ข้าว) มีมณฑลที่ส่งข้าวเข้าประกวด จำนวน 6 มณฑล ได้แก่ มณฑลกรุงเทพฯ, มณฑลนครไชยศรี, มณฑลกรุงเก่า, มณฑลปราจิณบุรี และมณฑลเพ็ชร์บูรณ์ โดยมีพันธุ์ข้าวได้รับรางวัล 3-10 รางวัล ได้แก่

มณฑลกรุงเทพฯ ได้แก่ (1) ข้าวสร้อยระย้า (ข้าวกลางปี), (2) ข้าวพระยาชม (ข้าวหนัก), (3) ข้าวขาวพวง (ข้าวหนัก), (4) ข้าวขาวเลี่ยน (5) ข้าวขาวมณี (ข้าวเบา), (6) ข้าวปิ่นทอง (ข้าวกลางปี), (7) ข้าวขาวแม่รำพึง, (8) ข้าวขาวบายศรี (9) ข้าวพระยาชม (ข้าวกลางปี) และ (10) ข้าวขาวลาว (ข้าวเบา)

มณฑลนคร ไชยศรี ได้แก่ (1) ข้าวพระยาชม (ข้าวหนัก), (2) ข้าวขาวบายศรี (ข้าวเบา), (3) ข้าวทองระย้า (ข้าวเบา), (4) ข้าวเหลืองรื่น (ข้าวกลางปี), (5) ข้าวเหลืองล้วน (ข้าวหนัก), (6) ข้าวบายศรี (ข้าวเบา), (7) ข้าวเหลืองเจ๊กห่าน (ข้าวกลางปี), (8) ข้าวขาวมะลิเลื้อย (ข้าวหนัก), (9) ข้าวขาวบายศรี (ข้าวเบา) และ (10) ข้าวพวงเงิน (ข้าวกลางปี)

มณฑลกรุงเก่า ได้แก่ (1) ข้าวเหลืองดง (ข้าวหนัก), (2) ข้าวเหลืองมาลัยทอง (ข้าวกลาง), (3) ข้าวกาบดำ (ข้าวหนัก)

มณฑลนครราชสิมา ได้แก่ (1) ข้าวขาวศรีเมือง (ข้าวหนัก), (2) ข้าวชมเสวย (ข้าวหนัก), (3) ข้าวดูก (ข้าวหนัก)

มณฑลปราจิณบุรี ได้แก่ (1) ข้าวเหลืองขมิ้น (ข้าวเบา), (2) ข้าวเหลืองพวงทอง (ข้าวหนัก), (3) ข้าวเหลืองทอง (ข้าวหนัก)

มณฑล เพ็ชร์บูรณ์ ได้แก่ (1) ข้าวนางพวงทอง (ข้าวหนัก), (2) ข้าวสร้อยพยอม (ข้าวหนัก), (3) ข้าวนางบุญมา (ข้าวหนัก), (4) ข้าวเหนียวดอกพุด (5) ข้าวเหนียวขาว

4. งานแสดงกสิกรรมแลพานิชการ ณ สระประทุมวัน ครั้งที่ 2 ปี ร.ศ. 130

ตรง กับปี พ.ศ. 2454 มีการประกวดพรรณเข้าปลูก (ข้าวพันธุ์ดี) ในระหว่าง 14 มณฑล ได้แก่ มณฑลกรุงเทพฯ มณฑลกรุงเก่า มณฑลปราจิณบุรี มณฑลนครไชยศรี มณฑลราชบุรี มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลจันทบุรี มณฑลภูเก็ต มณฑลปัตตานี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลพิศณุโลก มณฑลเพ็ชร์บูรณ์ มณฑลอุดร และมณฑลนครราชสิมา

มณฑลกรุงเทพฯ ได้แก่ (1) ข้าวขาวมณี (ข้าวเบา), (2) ข้าวเหลืองทองใบ (ข้าวกลางปี), (3) ข้าวเหลืองมาลัย (ข้าวหนัก)

มณฑลกรุงเก่า ได้แก่ (1) ข้าวบุญมา (ข้าวกลางปี), (2) ข้าวทูลฉลอง (ข้าวกลางปี), (3) ข้าวทูลฉลอง (ข้าวเบา)

มณฑลปราจิณบุรี ได้แก่ (1) ข้าวเหลืองประดู่ (ข้าวกลางปี), (2) ข้าวเหลืองปิ่นทอง (ข้าวกลางปี), (3) ข้าวหอมสวรรค์ (ข้าวกลางปี)

มณฑลนครไชยศรี ได้แก่ (1) ข้าวเหลืองเจ๊กห่าน (ข้าวกลางปี), (2) ข้าวขาวมะลิอ่อง (ข้าวเบา), (3) ข้าวทูลฉลอง (ข้าวกลางปี)

มณฑลราชบุรี ได้แก่ (1) ข้าวขาวบิด (ข้าวกลางปี), (2) ข้าวขาวปากกระบอก (ข้าวหนัก), (3) ข้าวเหลืองหอม (ข้าวกลางปี)

มณฑลนครศรีธรรมราช ได้แก่ (1) ข้าวสีดอกไม้ (ข้าวเบา), (2) ข้าวนางยาง (ข้าวกลางปี), (3) ข้าวช่อแดง (ข้าวกลางปี)

มณฑลจันทบุรี ได้แก่ (1) ข้าวละอองสำลี (ข้าวหนัก), (2) ข้าวขาวใบพวง (ข้าวหนัก) , (3) ข้าวขาวสร้อยทอง (ข้าวหนัก)

มณฑล ภูเก็ต ได้แก่ (1) ข้าวมะลิเลื้อย (ข้าวเบา), (2) ข้าวมะลิเลื้อย (ชื่อข้าว, ตำบลที่เพาะปลูก คือ ตำบลบางนวน อำเภอเมืองระนอง ซ้ำกับ ข้อ (1) ) และ (3) ข้าวไซ (ข้าวกลางปี)

มณฑลปัตตานี ได้แก่ (1) ข้าวลูกนก (2) ข้าวปาดีละสะ (3) ข้าวเนาะ นางอ

มณฑลนครสวรรค์ ได้แก่ (1) ข้าวแม่เต็ม (ข้าวกลางปี), (2) ข้าวขาวลาว (ข้าวกลางปี), (3) ข้าวสร้อยพยอม (ข้าวกลางปี)

มณฑลพิศณุโลก ได้แก่ (1) ข้าวขาวงาช้าง (ข้าวหนัก), (2) ข้าวเล็บมือนาง (ข้าวเบา), (3) ข้าวเหลือง

มณฑลเพ็ชร์บูรณ์ ได้แก่ (1) ข้าวหอมใหญ่ (ข้าวหนัก), (2) ข้าววงกต (ข้าวหนัก) และ (3) ข้าวแดง (ข้าวหนัก)

มณฑลอุดร ได้แก่ (1) ข้าวเจ้าเสวย (ข้าวเบา), (2) ข้าวเจ้าบาน (ข้าวหนัก) และ (3) ข้าวเจ้าน้ำมัน

มณฑลนครราชสิมา ได้แก่ (1) ข้าวนางดง (ข้าวกลางปี), (2) ข้าวกาบดำ (ข้าวกลางปี), (3) ข้าวนางกำพร้า (ข้าวหนัก)

(ที่มา-หนังสือ "รัชกาลที่ 5 กับการเกษตร เล่ม 2" รวบรวมโดย เอนก นาวิกมูล, สำนักพิมพ์สายธาร, 2554).


การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,ไส้เดือนดิน,รักษ์ดิน,ฮิวมิคพลัส,มูลไส้เดือนดิน,ปุ๋ยหมัก

Tags : มารู้จักข้าวพันธุ์พื้นเมืองในอดีต

view